การพรรณนา
ความหมาย หมายถึง การเรียบเรียงข้อความเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ประทับใจ เกิดจินตนาการ คือ ทำให้เห็นภาพและมีความรู้สึกร่วมกับผู้เขียน
วิธีการพรรณนา มีหลายวิธี ดังนี้
1. แยกส่วนประกอบสิ่งที่จะพรรณนา โดยชี้ให้เห็นว่า แต่ละส่วนส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างไร
2. ชี้ลักษณะเด่น
3. การใช้ถ้อยคำ ต้องเลือกสรรถ้อยคำที่เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์
ตัวอย่างการพรรณนา ด้วยวิธีชี้ลักษณะเด่น
"อ้อมผ่านไม้ใหญ่ขนาดสองโอบ กองธงทั้งสี่พบเห็นพญาลอหมอบซุกอยู่กลางกอหญ้าเหลืองเกรียมหน้าแดงสดใสดังสีน้ำคร่ำ ขนปีกเลื่อมระยับจับแดดเป็นสีเขียวก่ำแกมคราม แล้วทาทับด้วยทองแจ่มจนสว่างไสว ขนหางอ่อนโค้งราวแกล้งดัด เหลือบแรรุ้งร่วง กลมกลืนอ่อนแก่ดูเรียวระหง ขนอกอ่อนนุ่มดูนวลเนียนราวไม่เคยคลุกฝุ่นเผ้าละอองดิน"
หุบเขากินคน ของ มาลา คำจันทร์
ตัวอย่างการพรรณนา
" อันเทวาลัย ซึ่งมีผนังดำคร่ำด้วยความชรา ประหนึ่งว่า ยินดีรับเอาแสงแดดกำลังรอนๆจวนจะเลือนหายไปจากฟ้า เปรียบด้วย ชายชราได้ดื่มน้ำทิพย์แล้ว กลับฟื้นคืนความกระชุ่มกระชวยขึ้น ฉะนั้นภายล่างแห่งแสงซึ่งเรืองรองดั่งทองทาประสมกับเงาไม้กลายเป็นสีม่วงแลดูเต้นระยับไปทุกแห่งหน ถึงเวลาตอนนี้ที่ประชุมสงบเงียบยิ่งกว่าเก่า เงียบจนดูเหมือนใบไม้ที่เคยไหวก็หยุดเงียบไปด้วย
ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้ถ้อยคำ
|
|
" รัศมีมีเพียงเสียงดนตร |
|
ประทีปทีฆรัสสะจังหวะโยน |
|
ระเมียนไม้ใบโบกสุโนกเกาะ |
|
สุดเสนาะเสียงนกซึ่งผกโผน |
|
โผต้นนั้นผันตนไปต้นโน้น |
|
จังหวะโจนส่งจับรับกันไป" |
ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้ถ้อยคำ
|
|
สูงระหงทรงเพรียวเรียวรู |
|
งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า |
|
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา |
|
ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ |
|
คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย |
|
จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ |
|
หูกลวงดวงพักตรีหักงอ |
|
ลำคอโตตันสั้นกลม |
|
สองเต้าห้อยตุงดังคุงตะเคียว |
|
โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม |
|
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม |
|
มันน่าเชยน่าชมนางเทวี" |
|
|
[บทละคร เรื่องระเด่นลันได ของพระมหามนตรี(ทรัพย์)] |
ตัวอย่างการพรรณนา โดยการใช้สัญลักษณ์ช่วย
|
|
เมื่อแรกเชื่อว่าเป็นเนื้อทับทิมแท |
|
มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้ |
|
กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ |
|
ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา |
แนวทางการพัฒนาความสามารถในการอธิบาย บรรยาย และพรรณนา มีดังนี้
1. อ่านมากฟังมาก
2. ช่างสังเกต
3. จดบันทึก
4. ใช้ภาษามีประสิทธิภาพ
5. ฝึกฝนอยู่เป็นนิจ
ความหมายการเขียนพรรณนา
การเขียนพรรณนา หมายถึง การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุคคล สัตว์ วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่งด้วยถ้อยคำพรรณนาที่ไพเราะเหมาะสม ก่อให้เกิดจินตนาการ เห็นความเคลื่อนไหว จำนวน สี ขนาดและได้ยินเสียงตามที่ผู้ส่งสารประสงค์
การเขียนพรรณา เป็นศิลปะการเขียนที่ผู้เขียนจะใช้วิธีการเลือกสรรค์ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการไปกับเนื้อเรื่อง สามารถทำได้หลายวิธีโดยเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือผสมผสาน ดังนี้
๑) การใช้คำใหเหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย
๒) การแฝงความ คือ ผู้เขียนจะไม่ส่อเนื้อความตรงๆ ผู้อ่านต้องตีความเอง
๓) การใช้สำนวน คือ กลวิธีการเขียนพรรณนาอีกประเภทหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการ และเข้าใจเนื้อหา
๔) การเน้นข้อความโดยใช้คำซ้ำ คำซ้อน คือ กลวิธีการเขียนพรรณนาที่ช่วยเน้นย้ำอารมณ์ ความรู้สึกของผู้อ่านให้เกิดจินตนาการให้เด่นชัดขึ้น
ประเภทการเขียนพรรณนา
๑. การเขียนพรรณนาธรรมชาติ
๒. การเขียนพรรณนาสถานที่ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
๓. การเขียนพรรณนาลักษณะและพฤติกรรมของบุคคล
๔. การเขียนพรรณนาความรู้สึกและอารมณ์
๕. การเขียนพรรณนาความคิด
https://thaiteaching.wikispaces.com/การเขียนพรรณนา
http://kroosiripun.blogspot.com/2016/03/1_27.html
|