<< Go Back

ในโปรแกรม  Photoshop  ทุกเวอร์ชั่นมีการสร้าง  Layer  เพื่อใช้งานในการจัดวางภาพที่ซ้อนกันอยู่ให้สะดวกในการจัดวางภาพที่วางซ้อนกันนั้นให้ทำงานได้เฉพาะส่วน  หรือเฉพาะชั้นที่เราเลือกได้อย่างอิสระต่อกัน  ไม่มีผลกระทบกับส่วนอื่น หรือ ชั้นอื่น ๆ    ซึ่งผู้เรียนจำเป็นจะต้องเรียนรู้การทำงานของ  Layer  เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกับโปรแกรม  Photoshop  CS5  ได้มากยิ่งขึ้น

เลเยอร์  Layer  เป็นการซ้อนภาพเหมือนกับนำแผ่นใสที่มีภาพซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ  ซึ่งบริเวณของแผ่นใสที่ไม่มีรูปก็จะสามารถมองเห็นทะลุถึงแผ่นใสชั้นล่างได้  และเมื่อนำทุกแผ่นใสมาวางซ้อนทับกัน  จะทำให้เกิดเป็นรูปภาพที่สมบูรณ์  การใช้งานเลเยอร์จะช่วยให้เราจัดวางวัตถุ หรือชิ้นงานที่สร้างจากโปรแกรมได้ง่าย  เนื่องจากแต่ละเลเยอร์ทำงานเป็นอิสระต่อกัน  มีคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นของตนเอง  จึงทำให้การแก้ไขที่ทำไปแต่ละเลเยอร์นั้นไม่ส่งผลต่อเลเยอร์อื่น ๆ

ซึ่งการทำงานของเลเยอร์จะมีพาเนล Layer Panel ควบคุมการทำงานทุกอย่างของเลเยอร์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือก เพิ่ม/ลบ เปลี่ยนลำดับของเลเยอร์ ฯลฯ เมื่อใช้เลเยอร์ก็จะต้องระวังว่าคำสั่งต่างๆส่วนใหญ่จะมีผลต่อภาพในเลเยอร์ที่กำลังเลือกเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องสังเกตและเลือกเลเยอร์ที่ถูกต้องก่อนการทำงานใดๆ โดยก่อนที่ผู้เรียนจะทำงานกับเลเยอร์ผู้เรียนจะต้องเรียกใช้พาเนล Layer ก่อน โดยให้คลิกเมนูคำสั่ง Window คลิกเมาส์ที่ชื่อพาเนล Layers หลังจากนั้นจะปรากฏ Layer Palette บนโปรแกรมดังรูป

คำอธิบายปุ่มคำสั่งในเลเยอร์

          กำหนดภาพในเลเยอร์เป็นแบบโปร่งใส
          ป้องกันการปรับแต่งหรือแก้ไขภาพ
          ป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายภาพในเลเยอร์ที่กำหนด
          ป้องกันการแก้ไขภาพในเลเยอร์ทุกรูปแบบ
          กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเลเยอร์ (ลิงค์ / ยกเลิกลิงค์)
          กำหนดลูกเล่น  (Style  Effects)  ให้กับเลเยอร์
          กำหนด  Layer  Mask  ให้กับเลเยอร์
         จัดกลุ่มเลเยอร์  (Layer  Group)
          สร้างเลเยอร์สำหรับปรับสีภาพ
          สร้างเลเยอร์ใหม่
           ลบเลเยอร์ที่ไม่ใช้งาน

เมื่อเปิดไฟล์ภาพทั่วไปขึ้นมาใช้งาน ภาพนั้นจะอยู่ในเลเยอร์ชื่อ Background ซึ่งเป็นเลเยอร์พิเศษที่แตกต่างจากเลเยอร์ธรรมดา คือ
1. จะอยู่ด้านล่างสุดของพาเนลเสมอ และมีได้เพียงเลเยอร์เดียว
2. ไม่สามารถทำให้โปร่งใส ย้ายตำแหน่ง หรือเปลี่ยนชื่อได้
3. ไม่สามารถใช้เอฟเฟ็คต์และเลเยอร์มาสก์ได้

ใน Photoshop สามารถสร้างเลเยอร์ธรรมดาซ้อนบนเลเยอร์ Background เพื่อใช้สำหรับวาดภาพใหม่ หรือ Copy ชิ้นส่วนภาพที่อื่นมาวางซ้อนลงไป ตลอดจนสามารถแปลงเลเยอร์ Background เป็นเลเยอร์ธรรมดาหรือกลับกันก็ได้
การแปลงเลเยอร์ Background
               1. แปลงเลเยอร์ Background เป็นเลเยอร์ธรรมดา โดยใช้วิธีดับเบิลคลิกที่เลเยอร์ Background บนพาเนล Layers แล้วตั้งชื่อใหม่
              2. แปลงเลเยอร์ธรรมดา เป็นเลเยอร์ Background โดยคลิกเลือกเลเยอร์นั้นบนพาเนล Layers แล้วเลือกคำสั่ง Layer  New           Background from Layer

การสร้างเลเยอร์ใหม่   ผู้เรียนสามารถสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการจัดเก็บวัตถุ  ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือข้อความ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 
1.  เปิดรูปภาพที่ต้องการสร้างเลเยอร์ หรือจะเป็นการสร้างหน้ากระดาษขึ้นมาใหม่ก็ได้เช่นเดียวกัน 
2.  คลิกเมนูคำสั่ง  Layer  บนแถบเมนูแล้วคลิกเลือกคำสั่ง  New  แล้วเลือกคำสั่ง  Layer.. จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของการสร้าง    Layer  ขึ้นมาให้  ทำการปรับแต่งรายละเอียดของในแต่ละเลเยอร์ได้  ดังนี้ 

-  Name                 ใช้กำหนดชื่อเลเยอร์
-  Color                 ใช้กำหนดเปลี่ยนสีของเลเยอร์
-  Mode                 ใช้ผสมภาพเลเยอร์เข้าด้วยกันกับเลเยอร์ล่าง
-  Opacity           
ใช้กำหนดความโปร่งใสของเลเยอร์               
3.  จากนั้นคลิกปุ่ม OK  จะปรากฏ  Layer  ใหม่  ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุดของ  Layer                 
4.  หรือคลิกเมาส์ที่ไอคอน Create  a  new  Layer  บนพาเนล  Layer  ก็จะสามารถสร้างเลเยอร์ใหม่ได้เช่นเดียวกัน 

เมื่อทำการสร้างเลเยอร์ใหม่ในโปรแกรมจะมีชื่อเป็น  Layer  1,2,3…เรียงขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ  ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อของเลเยอร์ให้สอดคล้องกับวัตถุในเลเยอร์นั้นเพื่อจะได้สื่อความหมายและจำง่าย  ผู้เรียนสามารถที่จะเปลี่ยนชื่อของเลเยอร์ได้  โดยมีขั้นตอนดังนี้ 
1.  สร้างเลเยอร์ใหม่  หรือ ถ้ามีเลเยอร์ที่สร้างแล้วก็สามารถเปลี่ยนชื่อได้ทันที
2.  ดับเบิ้ลคลิกที่    Layer   ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อจะปรากฏเคอร์เซอร์ตรงชื่อของเลเยอร์  จากนั้นพิมพ์ชื่อของ  Layer ใหม่ที่ต้องการลงไป แล้วกดปุ่ม Enter

ในการทำงานต่างๆ ส่วนใหญ่ต้องเลือกเลเยอร์ที่จะใช้ให้ถูก มิฉะนั้นจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการ โดยสามารถเลือกเลเยอร์ได้คราวละหลายเลเยอร์ โดย
1. เลือกเพียงเลเยอร์เดียว ให้คลิกที่ชื่อหรือภาพตัวอย่างของเลเยอร์นั้น
2. เลือกหลายเลเยอร์ที่ติดกัน ให้คลิกเลือกเลเยอร์แรก จากนั้นกดคีย์ Shift ค้างไว้แล้วคลิกเลเยอร์สุดท้าย
3. เลือกหลายเลเยอร์ที่ไม่ติดกัน โดยกดคีย์ Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกแต่ละเลเยอร์

สามารถใช้เครื่องมือ Move ย้ายตำแหน่งของภาพในเลเยอร์ต่างๆ (ยกเว้นเลเยอร์ Background) เพื่อจัดองค์ประกอบภาพโดยรวม ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ
1. วิธีคลิกลากเมาส์
2. วิธีกดคีย์ลูกศร การกดคีย์ลูกศรจะทำให้ภาพเคลื่อนไปครั้งละ 1 พิกเซล แต่ถ้ากด Shift ค้างไว้ด้วยจะเลื่อนไปครั้งละ 10 พิกเซล 

              การย้ายภาพ หรือการ  Move  วัตถุข้ามไฟล์  ซึ่งจะเรียกว่า การลากข้ามไฟล์  โดยที่การย้ายวัตถุไปอีกไฟล์หนึ่งจะสร้าง Layer  ขึ้นมาใหม่โดยอัตโนมัติ  ซึ่งในการคัดลอกเลเยอร์ หรือ การย้ายวัตถุนี้จะเป็นการสร้างเลเยอร์ใหม่ให้โดยอัตโนมัติ  โดยมีขั้นตอนดังนี้ 
1.  เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการย้ายวัตถุขึ้นมา  (ต้นฉบับ)  จากนั้นทำการสร้าง  Selection  บริเวณที่ต้องการย้าย 
2.  เปิดหน้ากระดาษใหม่ หรือ ไฟล์ใหม่ที่ต้องการนำภาพจากต้นฉบับไปวาง 

 3.  คลิกเมาส์เลือกวัตถุ  Move  Tool  บน  Toolbox 
4.  ใช้เมาส์คลิกค้างไว้ที่บริเวณ  Selection  จากนั้นลากไปวางยังไฟล์ที่เปิดมาใหม่  จะได้วัตถุที่เลือกวางไว้ที่ไฟล์ใหม่ทันที  โดยที่เลเยอร์ในพาเนล  Layer  ก็จะถูกสร้างขึ้นต่อจากเลเยอร์  Background   ทันทีโดยที่จะเป็น  Layer 1 และถ้ามีการคัดลอกใหม่ก็จะเป็น  Layer 2,3  ไปเรื่อย ๆ

เราสามารถซ่อนเลเยอร์ที่ยังไม่ใช้งานไว้ก่อน เพื่อให้แก้ไขเลเยอร์ที่ถูกบังอยู่ได้สะดวก หรืออาจจะซ่อน / แสดงเลเยอร์เพื่อทดลองดูการจัดองค์ประกอบภาพแบบต่างๆ ว่าแบบใดดีที่สุด ซึ่งในการบันทึกภาพเพื่อนำไปใช้ (เช่นไฟล์ TIF หรือ JPG) ภาพที่ได้จะเป็นไปตามเลเยอร์ที่ถูกแสดงอยู่ ณ ขณะบันทึกเท่านั้น
วิธีซ่อน / แสดงเลเยอร์ ทำได้โดยคลิกในช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้าเลเยอร์

การคัดลอกวัตถุในโปรแกรมสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การคัดลอกภายในไฟล์ กับ คัดลอกภายนอกไฟล์  ซึ่งการคัดลอกทั้ง 2 แบบนี้จะได้  Layer ใหม่เพิ่มขึ้นมาเช่นเดียวกัน  มีขั้นตอนดังนี้ 
การคัดลอกภายนอกไฟล์
1.  เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการย้ายวัตถุขึ้นมา  (ต้นฉบับ)  จากนั้นทำการสร้าง  Selection บริเวณที่ต้องการย้าย 
2.  เปิดหน้ากระดาษใหม่ หรือ ไฟล์ใหม่ที่ต้องการนำภาพจากต้นฉบับไปวาง 

3.  คลิกเลือกเมนูคำสั่ง  Edit  เลือกคำสั่ง  Copy  
4.  คลิกเมาส์ที่ไฟล์ปลายทาง  จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง  Edit  เลือกคำสั่ง  Paste   จะปรากฏวัตถุที่เลือกจากภาพต้นฉบับ  มาวางบนไฟล์ภาพปลายทาง  โดยจะมี  Layer  เพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ  และถ้าเราต้องการวางมากกว่า 1 รูป  ก็ใช้คำสั่ง  Edit  เลือกคำสั่ง  Paste   วางวัตถุเดิมก็จะได้วัตถุวางไว้บนหน้ากระดาษเพิ่มขึ้นอีก  และ  Layer  ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

การคัดลอกภายในไฟล์
1.  เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการย้ายวัตถุขึ้นมา  (ต้นฉบับ)  จากนั้นทำการสร้าง  Selection  บริเวณที่ต้องการย้าย 

2.  คลิกเลือกเมนูคำสั่ง  Edit  เลือกคำสั่ง  Copy  
3.  คลิกเลือกเมนูคำสั่ง  Edit  เลือกคำสั่ง  Paste  จะปรากฏวัตถุที่ทำการเลือกวางบนไฟล์ภาพเดิม  โดยจะมี  Layer  เพิ่มขึ้นมาอัตโนมัติ  และถ้าเราต้องการวางมากกว่า 1 รูป  ก็ใช้คำสั่ง  Edit  เลือกคำสั่ง  Paste   วางวัตถุเดิมก็จะได้วัตถุวางไว้บนหน้ากระดาษเพิ่มขึ้นอีก  และ  Layer  ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

เมื่อเราต้องการดูว่าขณะนี้เรากำลังทำงานอยู่ที่เลเยอร์ใดสังเกตว่าจะมีแถบสีน้ำเงินคลุมอยู่ที่เลเยอร์นั้น และการย้ายตำแหน่งวัตถุในเลเยอร์นั้นสามารถทำได้โดยคลิกเลือกเครื่องมือ  Move  Tool  บน  Toolbox  จากนั้นคลิกในช่องสี่เหลี่ยมให้มีเครื่องหมายถูกที่คำสั่ง 
-    Auto  Select  Layer    
 คลิกบนวัตถุใดจะเป็นการเลือกเลเยอร์ของวัตถุนั้นโดยอัตโนมัติ
-  
Show  Transform Controls  ใช้กำหนดให้เกิดกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบเลเยอร์ที่เลือก 
เมื่อคลิกเลือกคำสั่งทั้ง  2  คำสั่งนี้แล้วจะทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุ หรือ เลือกใช้งานวัตถุได้ง่ายขึ้น   รวมทั้งการเลือกเลเยอร์ของวัตถุนั้นก็สามารถทำได้สะดวกยิ่งขึ้น  รวมทั้งสามารถย่อ – ขยาย และหมุนวัตถุได้เช่นกัน   โดยเมื่อเลือกคำสั่ง  Show  Transform Controls  จะมีจุดแฮนเดิ้ล (Handle)  เพื่อให้สามารถปรับ หรือ หมุนวัตถุได้ง่ายขึ้น

              เมื่อเราสร้างเลเยอร์ไว้ใช้งานหลาย ๆ เลเยอร์แล้ว  และต้องการจะเปลี่ยนลำดับชั้นของ
เลเยอร์ไว้สำหรับการใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย  สามารถทำได้โดย
                1.  สร้างเลเยอร์ประมาณ  2-3  เลเยอร์

                2. คลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการเลื่อนลำดับขึ้น – ลง  จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปยังตำแหน่งของเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยน    สังเกตว่ารูปภาพจะเปลี่ยนลำดับตามเลเยอร์ที่เปลี่ยนลำดับด้วยเช่นกัน

              การล็อคเลเยอร์  คือ  การล็อคไม่ให้กระทำสิ่งใด ๆ กับเลเยอร์   โดยในการล็อคเลเยอร์ของโปรแกรม  Photoshop  มีรูปแบบต่าง ๆ อีก 4 ตัวเลือก  ซึ่งรูปแบบของการล็อคนี้จะอยู่ที่พาเนล  Layer  ตรงคำสั่ง  Lock

โดยวิธีการใช้ล็อคเลเยอร์นั้น ให้คลิกเมาส์เลเยอร์ที่ต้องการล็อค  จากนั้นคลิกตรงสัญลักษณ์ของการล็อคแต่ละชนิดก็จะสามารถใช้การล็อคตามที่เลือกได้ โดยสังเกตว่าเลเยอร์ที่เลือกจะใช้การล็อคนั้นจะมีรูปกุญแจอยู่ตรงท้ายของเลเยอร์ และสัญลักษณ์ของการล็อคที่เลือกก็จะเป็นปุ่มบุ๋มลงไป   ดังรายละเอียดของรูปแบบการล็อค ดังนี้

Lock Transparent Pixels  ล็อคส่วนโปร่งใสทำให้ไม่สามารถทำสิ่งใดในส่วนที่โปร่งใสได้

Lock  Image  Pixels  ล็อคเลเยอร์ทำให้ไม่สามารถปรับสี  เติมสี ส่วนใด ๆ ของเลเยอร์ได้

Lock  Position   ล็อควัตถุไว้ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือปรับเปลี่ยนได้

Lock  All  ล็อคทุกอย่างทำให้ไม่สามารถทำอะไรกับเลเยอร์นั้นได้

การเปลี่ยนสีเลเยอร์  คือการเปลี่ยนสีของเลเยอร์ที่อยู่ในพาเนล เพื่อให้เลเยอร์ที่สร้างขึ้นมานั้นดูง่าย  และสะดวกในการจัดกลุ่มให้กับเลเยอร์โดยใช้สีเป็นตัวบอกได้   โดยให้คลิกเลือกเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยนสี  จากนั้นคลิกที่ปุ่ม     บนพาเนล  Layer หรือคลิกเมาส์ทางขวา จะปรากฏแถบคำสั่ง  ให้คลิกเลือกคำสั่ง  Layer  Properties  จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ขึ้นมา  ในช่อง  Color  คลิกเลือกสีที่ต้องการ

 การลิงค์เลเยอร์  คือ การรวมเอาเลเยอร์หลาย ๆ เลเยอร์มารวมอยู่ด้วยกัน  เวลาเคลื่อนย้ายตำแหน่งหรือจัดวางใหม่จะได้กระทำได้ในครั้งเดียว  หรือสามารถเคลื่อนย้ายเลเยอร์เหล่านี้ไปด้วยกันได้  โดยไม่ต้องย้ายทีละเลเยอร์  วิธีการสร้างลิงค์เลเยอร์สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้ 
1.  สร้างเลเยอร์ที่ต้องการ ประมาณ 2-3 เลเยอร์  จากนั้นคลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการสร้างลิงค์  โดยกดปุ่ม  Ctrl  ค้างไว้ในขณะที่เลือกเลเยอร์ที่ 2 (สังเกตว่าเลเยอร์ที่เลือกจะมีแถบสีน้ำเงินคลุมอยู่)

2.  คลิกเมาส์ที่ไอคอน Link Layers  เพื่อทำการลิงค์เลเยอร์ที่เลือกไว้
3.  สังเกตว่าที่ด้านหลังของเลเยอร์ที่เลือกจะมีสัญลักษณ์ อยู่ทุกเลเยอร์ที่เลือก 

จากนั้นให้ผู้เรียนลองเปลี่ยนลำดับของเลเยอร์จะเห็นว่าเลเยอร์ที่ลิงค์นั้นจะย้ายไปด้วยกันเสมอ  รวมทั้งรูปภาพที่อยู่ในแต่ละเลเยอร์ด้วยจะย้ายไปด้วยกันเสมอ

และถ้าต้องการยกเลิกการลิงค์เลเยอร์ให้คลิกเมาส์ที่สัญลักษณ์  อีกครั้ง เลเยอร์ที่ทำการลิงค์ไว้ก็จะถูกยกเลิกการลิงค์  รวมทั้งรูปภาพบนหน้ากระดาษก็จะไม่รวมกันเป็นกรอบเดียวกัน

 การรวมเลเยอร์   คือ  การกำหนดให้เลเยอร์หนึ่งไปรวมกับอีกเลเยอร์หนึ่ง  หรือ รวม        เลเยอร์ทั้งหมดในพาเนล  Layers ให้กลายเป็นเพียงเลเยอร์เดียว   ซึ่งการรวมเลเยอร์มีหลายรูปแบบ  ดังนี้ 

Merge  Down   การรวมเลเยอร์สองเลเยอร์เข้าด้วยกัน 
Merge  Down  เป็นคำสั่งที่กำหนดให้เลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่รวมกับอีกเลเยอร์หนึ่งที่อยู่ด้านล่าง       โดยชื่อของเลเยอร์ที่แสดงผลหลังจากรวมเลเยอร์แล้วจะเป็นชื่อเลเยอร์ที่อยู่ทางด้านล่าง 
วิธีการรวมเลเยอร์ 
1.  คลิกเมาส์เลือกเลเยอร์หลัก หรือเลเยอร์ที่อยู่ด้านบน  จากตัวอย่างเลเยอร์ที่เลือกคือ เลเยอร์ strawberry ส่วนเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่างคือ เลเยอร์  banana   
2.  เลือกเมนูคำสั่ง  Layers  บนเมนูบาร์  จากนั้นเลือกคำสั่ง  Merge  Down  หรือคลิกเมาส์ทางขวาตรงเลเยอร์ที่คลิกเลือกจากนั้นคลิกคำสั่ง  Merge  Down  เลเยอร์ strawberry   และ  banana  จะรวมกันและเปลี่ยนเป็นชื่อเลเยอร์ด้านล่างคือ เลเยอร์  banana 

Merge  Visible การรวมเลเยอร์ที่แสดงผลทั้งหมด 
Merge  Visible  เป็นการรวมเลเยอร์ที่ปรากฏสัญลักษณ์รูปดวงตา    ทั้งหมดในพาเนล  Layers  เข้าด้วยกันให้เหลือเพียงหนึ่งเลเยอร์เท่านั้น   โดยเลเยอร์ที่ผ่านการรวมนั้นจะจัดเก็บไว้ใน    เลเยอร์  Background  ส่วนเลเยอร์อื่น ๆ ที่ซ่อนไว้จะไม่ถูกนำมารวม
วิธีการรวมเลเยอร์ 
1.  เลเยอร์ที่กำลังทำงาน หรือ เปิดใช้งานอยู่จะปรากฏสัญลักษณ์    
2.  เลือกเมนูคำสั่ง  Layers  บนเมนูบาร์  จากนั้นเลือกคำสั่ง  Merge  Visible หรือคลิกเมาส์ทางขวาตรงเลเยอร์ที่คลิกเลือกจากนั้นคลิกคำสั่ง  Merge  Visible เลเยอร์ทั้งหมดที่เปิดใช้ จะถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นเลเยอร์เดียวกันชื่อว่า  Background 

Flatten  Image   การรวมเลเยอร์ทั้งหมด 
Flatten  Image เป็นการรวมเลเยอร์ทั้งหมดที่อยู่ในพาเนล  Layers  ซึ่งรวมทั้งเลเยอร์ที่ซ่อนอยู่ทั้งหมด
วิธีการรวมเลเยอร์
 
1.  คลิกเมาส์ที่เลเยอร์  จากนั้นคลิกเลือกเมนูคำสั่ง  Layer  บนเมนูบาร์  จากนั้นเลือกคำสั่ง  Flatten  Image หรือคลิกเมาส์ทางขวาตรงเลเยอร์ที่คลิกเลือกจากนั้นคลิกคำสั่ง  Flatten  Image เลเยอร์ทั้งหมด จะถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นเลเยอร์เดียวกันชื่อว่า  Background 
2.  ถ้ามีเลเยอร์ใดที่ซ่อนอยู่โปรแกรมจะมีไดอะล็อคซ์บล็อกซ์ยืนยันการรวมเลเยอร์ทั้งหมดรวมทั้งที่ซ่อนอยู่ด้วย  ถ้าต้องการรวมทั้งหมดให้คลิกที่  OK.

การจัดกลุ่มให้กับเลเยอร์  เปรียบเสมือนการสร้างแฟ้มเอกสาร เพื่อจัดเก็บเลเยอร์แต่ละชนิดเข้าไว้ด้วยกัน  โดยจำแนกเป็นประเภทหรือกลุ่มงานของเลเยอร์เพื่อให้เกิดความสะดวก   วิธีการสร้างกลุ่มให้กับเลเยอร์  มีดังนี้   
                1.  ในพาเนล  Layers  คลิกปุ่ม  Create a new  group     จะปรากฏเลเยอร์ใหม่ที่มีรูปโฟลเดอร์อยู่ด้านหน้าเลเยอร์และจะมีชื่อว่า  Group 1 
                2.  ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อกลุ่มให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อ  Group 1   แล้วพิมพ์ชื่อใหม่ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม  Enter 

                3. การเพิ่มเลเยอร์ใหม่ในกลุ่ม  ให้คลิกเมาส์ที่ไอคอน   จะปรากฏเลเยอร์ใหม่ที่อยู่ใน Layer  Animal   คือ  Layer 1

               4. การดูเลเยอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในกลุ่มของ Layer   ให้คลิกเมาส์ที่สัญลักษณ์   ซึ่งจะพบกับเลเยอร์ที่อยู่ในกลุ่มเลเยอร์ที่สร้างไว้  ถ้าเป็นสัญลักษณ์   หมายถึงเปิดให้เห็นเลเยอร์ที่อยู่ข้างในกลุ่ม

               5. ถ้าต้องการนำเลเยอร์ที่อยู่ด้านนอกกลุ่มของเลเยอร์ย้ายเข้าไปอยู่ในกลุ่ม  ให้คลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่สร้างไว้แล้ว  จากนั้นลากเมาส์ที่เลเยอร์นั้นแล้วนำไปวางที่กลุ่มเลเยอร์ที่ต้องการย้ายเข้าไปจะเห็นว่าเลเยอร์ที่ต้องการย้ายนั้นเข้าไปอยู่ในกลุ่มเลเยอร์  สังเกตได้จากตัวอย่างของรูปภาพจะเขยิบเข้าไปด้านในกลุ่ม 

6.  ถ้าต้องการย้ายเลเยอร์ออกจากกลุ่มเลเยอร์ ให้คลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการย้าย จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วนำมาวางบนเลเยอร์ใดก็ได้ที่อยู่ด้านนอกของกลุ่ม Layer 

 Layer  Style  เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้สำหรับตกแต่งรูปภาพในเลเยอร์ให้มีลักษณะพิเศษที่สวยงามมากยิ่งขึ้น  เช่น  การกำหนดแสงเงา , กำหนดความหนาลึกของภาพแบบ 3 มิติ  โดย  Layer  Style  จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ซ้อนทับผสานลงไปกับรูปภาพในเลเยอร์หลัก  โดยในขณะที่รูปภาพต้นฉบับยังคงมีรายละเอียดเหมือนเดิม  โดยมีวิธีการใช้งาน   Layer  Style  ดังนี้ 
1.  คลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการใส่เอฟเฟ็กต์ จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  คำอธิบาย: 223  บนพาเนล  Layers  จากนั้นคลิกเลือกรูปแบบของเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ  หรือ  ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์  ซึ่งจะปรากฏ
ไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของ  Layer  Style 

2.  สามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ของ Layer  Style  ได้จากทางขวามือ โดยด้านซ้ายมือจะเป็นรูปแบบของ  Layer  Style

จากที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าภาพในเลเยอร์บนจะบังเลเยอร์ด้านล่าง แต่ผลที่ได้ยังขึ้นกับความโปร่งใสของเลเยอร์ด้วย คือ ถ้าเลเยอร์บนโปร่งใสบางส่วน (Opacity น้อยกว่า 100%) จะทำให้มองเห็นภาพในเลเยอร์ล่างได้บางส่วนเช่นกัน การปรับความโปร่งใสของเลเยอร์จะมีผลต่อทุกๆบริเวณของภาพในเลเยอร์นั้นเสมอ

Blend Mode คือ วิธีผสมสีของภาพในเลเยอร์ปัจจุบันเข้ากับเลเยอร์ด้านล่าง ซึ่งจะทำให้เกิดผลพิเศษขึ้น โดยที่ภาพในเลเยอร์ทั้งหมดไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

เลเยอร์มาสก์ คือ “หน้ากาก” สำหรับใช้บังภาพส่วนที่ไม่ต้องการแสดง ซึ่งจะทำให้บริเวณนั้นไม่ปรากฏออกมา คุณสมบัตินี้ทำให้เรานำภาพใดๆไปประกอบกับภาพอื่นได้โดยไม่ต้องลบส่วนที่ไม่ใช้ในภาพต้นฉบับให้เสียหาย และสามารถแก้ไขเปลี่ยนส่วนที่ถูกบังได้ง่าย
เลเยอร์มาสก์ก็คือภาพๆหนึ่ง เราจึงใช้เทคนิคต่างๆในการปรับแต่ง ตัดต่อ และระบายภาพเพื่อสร้างหน้ากากได้ นอกจากนี้ยังใช้เลเยอร์มาสก์สร้างเอฟเฟ็คต์พิเศษต่างๆได้เช่นกัน
วิธีการสร้างเลเยอร์มาสก์ ทำได้ 2 แบบ คือ
1. สร้างเลเยอร์มาสก์เปล่า เพื่อวาดหรือระบายหน้ากากเอง
2. สร้างเลเยอร์มาสก์จาก Selection ซึ่งภาพจะถูกบังตามรูปทรงของ Selection นั้น

การสร้างเอฟเฟ็คต์ด้วยเลเยอร์มาสก์
เอฟเฟ็คต์ง่ายๆที่สร้างได้จากเลเยอร์มาสก์ คือการทำให้ภาพ 2 ภาพค่อยๆเลื่อนเข้าหากัน โดยในที่นี้จะแสดงขั้นตอนการทำงานที่ต่อเนื่องจากข้อ 1 และ 2 ข้างต้น

สร้างเลเยอร์มาสก์จาก Selection
ตามปกติเวลานำวัตถุมาซ้อนกับพื้นหลังใหม่ จะต้องสร้าง Selection เพื่อตัดแยกวัตถุหรือลบพื้นหลังเดิมออกไปก่อน เพื่อให้เห็นพื้นหลังใหม่แทน แต่ถ้าใช้เลเยอร์มาสก์ หลังจากสร้าง Selection แล้วสามารถบังพื้นหลังเดิมให้หายไปได้ทันทีโดยไม่ต้องลบออกจริงๆ โดย Copy ภาพวัตถุที่ต้องการไปวางในไฟล์เดียวกับไฟล์พื้นหลังใหม่ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

แก้ไขเลเยอร์มาสก์

การเปิด / ปิดเลเยอร์มาสก์
การปิดเลเยอร์มาสก์จะทำให้ส่วนที่ถูกบังปรากฏออกมาเหมือนภาพตามปกติ โดยให้กด Shift ค้างไว้ แล้วคลิกบนเลเยอร์มาสก์เพื่อเปิด / ปิดเลเยอร์มาสก์ จะได้ผลดังรูป

การลบเลเยอร์มาสก์

คุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาใน Photoshop CS5 ที่จะช่วยจัดการกับมาสก์หรือการบังภาพในเลเยอร์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างมาสก์ด้วยการคลิกเลือกสีที่ใกล้เคียงกันจากไดอะล็อกบ็อกซ์ Color Range

เลเยอร์สไตล์ (Layer Style) คือชุดคุณสมบัติที่เรากำหนดไว้กับเลเยอร์ เพื่อตกแต่งภาพในเลเยอร์นั้นให้มีลักษณะพิเศษต่างๆ เลเยอร์สไตล์จะประกอบด้วยเลเยอร์เอฟเฟ็คต์ตั้งแต่ 1 เอฟเฟ็คต์ขึ้นไป
เลเยอร์เอฟเฟ็คต์ (Layer Effect) คือคุณสมบัติแต่ละอย่างที่เราสามารถกำหนดให้เลเยอร์ เช่น ให้มีเงา หรือให้ภาพดูนูนขึ้นมา เป็นต้น

จัดการเลเยอร์สไตล์
จากตัวอย่างข้างต้นจะได้เลเยอร์สไตล์ ซึ่งมีรายละเอียดปรากฏบนพาเนล Layers พร้อมส่วนควบคุมต่างๆดังรูป

1. การลบเอฟเฟ็คต์แต่ละตัว ทำได้โดยคลิกลากชื่อเอฟเฟ็คต์นั้นไปทับปุ่ม
2. การลบเลเยอร์สไตล์ทั้งชุด ทำได้โดยคลิกลากบรรทัด     ไปทับปุ่ม 
3. การแก้ไขค่าการทำงานของเอฟเฟ็คต์แต่ละตัว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อเอฟเฟ็คต์นั้น
4. การบันทึกเลเยอร์สไตล์ที่สร้างนี้เก็บไว้เป็นสไตล์สำเร็จรูป ให้คลิกปุ่ม ที่ด้านล่างของพาเนล Styles

ตกแต่งเลเยอร์ด้วยสไตล์สำเร็จรูป
ใน Photoshop มีสไตล์สำเร็จรูปให้มาจำนวนหนึ่ง การเรียกใช้สไตล์เหล่านี้จะทำได้จากพาเนล Styles ซึ่งเปิด / ปิดได้โดยเลือกคำสั่ง Windows         Styles

วิธีเรียกใช้สไตล์สามารถทำได้ดังนี้

 

 

 

 

<< Go Back