<< Go Back

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

          1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)

          นิยมเรียกสั้นๆ ว่า รอม (ROM) คือหน่วยความจำที่เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ใน การเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำ สั่งที่ใช้ในชิปชื่อ ROM BIOS (Basic Input/Output System) เนื่อง จากรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง นั่นคือ แม้จะปิดเครื่องแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือน เดิม แต่ข้อเสียของรอมคือหน่วยความจำชนิดนี้ไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติม ชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความ จำแบบแรม

นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีรอมที่เป็นชิปพิเศษแบบต่างๆ อีก คือ

          - PROM (Programmable Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำแบบรอม ที่สามารถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษ ได้หนึ่งครั้ง จากนั้นจะลบหรือแก้ไขไม่ได้

          - EPROM (Erasable PROM) เป็นหน่วยความจำรอม ที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตในการเขียนข้อมูล สามารถนำออกจากคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องมือพิเศษและบันทึกข้อมูล ใหม่ได้

          - EEPROM (Electrically Erasable PROM) จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดซึ่งรวมเอาข้อดีของรอมและแรมเข้าด้วยกัน เป็นชิปที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยงและสามารถเขียน แก้ไขหรือลบข้อ มูลที่เก็บไว้ได้ด้วยโปรแกรมพิเศษ โดยไม่ต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิว เตอร์ ทำให้เปรียบเสมือนกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูง หน่วย วามจำชนิดนี้มีข้อด้อย 2 ประการเมื่อเทียบกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นั่นคือ ราคาที่สูงและมีความจุข้อมูลต่ำกว่ามาก ทำให้การใช้งานยังจำกัดอยู่กับงาน ที่ต้องการความเร็วสูงและเก็บข้อมูลไม่มากนัก ตัวอย่างของหน่วยความจำ เป็นแบบที่รู้จักกันดีคือ หน่วยความจำแบบ Flash ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บใน เครื่องรุ่นใหม่ๆ

          2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory)

          นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า แรม (Ram) หมายถึงหน่วยความจำความเร็วสูงซึ่ง เป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีหน่วยความจำนี้โปร เซสเซอร์ก็จะทำงานไม่ได้เลย เนื่องจากหน่วยความจำแรมเป็นเสมือนกระ ดาษทด ที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ในขณะกำลังทำงานอยู่ เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น เช่น ดิสก์ไดรฟ์ จะมีความเร็วในการอ่านและ บันทึกข้อมูลช้ามาก ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรม ที่มีความเร็วสูงเสมอ

          โดยปกติแล้วถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากก็สามารถทำงานได้เร็ว ขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งโปรแกรมต่างๆ ได้ทั้งหมด ไม่ต้องเรียก คำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่าง มาก แผงวงจรหลัก (Main Board) ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติ จะถูกออกแบบมาให้สามารถเพิ่ม ชิปหน่วยความจำ (Memory Chip) ได้ โดยง่าย เนื่องจากถ้าผู้ใช้ต้องทำงานกับโปรแกรมที่มีการคำนวณซับซ้อนหรือ ทำงานกับภาพกราฟิก ก็อาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มหน่วยความจำให้มากขึ้น

          คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากจำเป็นต้องมีหน่วยความจำ จำนวนมาก เนื่องจากมักจะนำคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมาใช้ประมวลผลโปรแกรมจำนวน หลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กันเสมอ เช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray-4 ต้อง ใช้หน่วยความจำแรมอย่างน้อย 256 เมกะไบต์ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ DEC AXP/150 ใช้หน่วยความจำแรมอย่างน้อย 128 เมกะไบต์ เนื่องจาก การที่มีผู้ใช้หลายคนทำงานพร้อมๆ กัน โดยใช้หลักการของ มัลติโปรเซสซิ่ง (Multi Processing) จะต้องมีการแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ เพื่อเก็บโปร แกรมแต่ละโปรแกรมให้สามารถทำงานไปได้พร้อมกัน

หน่วยความจำแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ

          1. DRAM (Dynamic RAM)

          เป็นหน่วยความจำที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีวงจรคล้าย ตัวเก็บประจุเพื่อจัดเก็บแต่ละบิตของข้อมูล ทำให้ต้องมีการย้ำสัญญาณไฟฟ้า เข้าไปก่อนที่จะสูญหาย เรียกว่า การรีเฟรช (Refresh) หน่วยความจำจะมี ข้อดีที่ราคาต่ำ ข้อเสียคือมีความเร็วไม่สูงนักเนื่องจากต้องมีการรีเฟรชข้อมูล อยู่ตลอดเวลา ซึ่งได้มีการนำเทคนิคต่างๆ มาลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล ทำ ให้เกิด DRAM ชนิดย่อยๆ เช่น FPM (Fast Page Mode) RAM,EDO (Extended Data Output) RAM,SDRAM (Synchronous DRAM) เป็นต้น

          2. SRAM (Static RAM)

          เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง พลังงานที่ SRAM ใช้จะน้อยมาก โดย สามารถใช้พลังงานถ่านนาฬิกาในการทำงานได้ถึงหนึ่งปี ข้อเสียคือราคาสูง นิยมใช้ SRAM เป็นหน่วยความจำแคช เพื่อเสริมความเร็วให้กับหน่วยความ จำ DRAM ในระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเนื่องจากหน่วยความจำจะมี ความเร็วต่ำกว่า 10 NanoSesond

ขอขอบคุณ : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=355433

<< Go Back