โครงการ Arduino เดิมก่อตั้งมาด้วยผู้ร่วมก่อตั้ง 5 คน ได้แก่ Massimo Banzi, David Cuartielles, David Mellis, Tom Igoe, และ Gianluca Martino โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ช่วงปี 2005 ความหมายของคำว่า Arduino แปลว่า เพื่อนแท้ (Strong friend หรือ Brave friend) ในภาษาอิตาลีโดยผู้ก่อตั้งมีความตั้งใจให้ราคาของอุปกรณ์นั้นถูกเมื่อเทียบกับไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลอื่น ๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย แพลตฟอร์ม Arduino ได้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายนักเขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซีพียู โดยรู้เพียงว่าบอร์ด Arduino ที่เลือกมาใช้งานนั้นมีช่องสัญญาณที่ใช้งานอะไรบ้างและมีคุณสมบัติต่าง ๆ อะไรบ้างก็สามารถใช้งานได้แล้ว
Arduino ถูกใช้งานด้านต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากการเขียนโค้ดโปรแกรมควบคุมการทำงานของ Arduino มีความง่ายและยืดหยุ่นสามารถใช้งานในระดับสูงได้อีกด้วย เครื่องมือที่ใช้สำหรับเขียนโค้ดควบคุมมีเวอร์ชันที่สามารถ Run ได้ในทุกระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็น Macintosh Windows หรือแม้กระทั้ง Linux ก็ตามทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง แพลตฟอร์ม Arduino ประกอบด้วย
- ฮาร์ตแวร์
- ซอฟต์แวร์
ฮาร์ตแวร์ (Hardware)
เป็นบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นชิ้นส่วนหลักประกอบร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานหรือที่เรียกกันว่า “บอร์ด Arduino” โดยบอร์ด Arduino ก็มีหลายรุ่นให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน โดยในแต่ละรุ่นอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดของบอร์ดหรือคุณสมบัติ เช่น จำนวนของขารับส่งสัญญาณ, แรงดันไฟที่ใช้, ประสิทธิภาพของ MCU เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ (Software)
- ภาษาที่ใช้เขียนโค้ดควบคุมบอร์ด Arduino เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมควบคุมที่มีไวยากรณ์แบบเดียวกับภาษา C/C++
- Arduino IDE เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนโค้ดโปรแกรม การคอมไพล์โปรแกรม (การแปลงไฟล์ภาษา C ให้เป็นภาษาเครื่อง) และอัปโหลดโปรแกรมลงบอร์ด
Arduino เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นสมองของระบบแบบฝังตัวโดย Arduino เป็นแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ และมีสภาพแวดล้อมในการพัฒนาซอฟแวร์ และการทำต้นแบบที่ง่ายต่อการเรียนรู้ และจะเป็นพื้นฐานสำหรับโครงการที่นักพัฒนาจะพัฒนาต่อไป
ไมโครคอนโทรลเลอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีโปรเซสเซอร์และหน่วยความจำสามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์มากมายที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ไมโครคอนโทรลเลอร์บางรุ่นถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งนี้เป็นวัตถุประสงค์เฉพาะของ Arduino
ไมโครคอนโทรลเลอร์ช่วยให้สามารถสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากนักพัฒนาสามารถควบคุมฟังก์ชันต่างๆ ผ่านโปรแกรมบนไมโครคอนโทรลเลอร์ สามารถควบคุมทั้งอินพุตและเอาต์พุต เช่น สามารถทำให้ไฟ LED ที่เชื่อมต่อกับขา Arduino กะพริบเป็นเวลา 5 วินาที แล้วดับ 3 วินาที ซึ่งหลอด LED ถือเป็นตัวอย่างของเอาต์พุตและยังมีรูปแบบที่ซับซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย
ทำไมต้อง Arduino
ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้นคือ บอร์ด Basic Stamp และบอร์ด Arduino แต่ Basic Stamp ใช้ภาษา Basic ในการเขียนโปรแกรมที่แม้จะง่ายแต่ค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับภาษา C ที่ Arduino ใช้ โดยหลักการทำงานแล้วบอร์ด Arduino มีความคล้ายกับบอร์ด Stamp แต่บอร์ด Arduino แก้ปัญหาหลายอย่างของบอร์ด Stamp ออกไป หนึ่งในคุณลักษณะที่สำคัญสำหรับผู้เริ่มต้นคือ ค่าใช้จ่ายที่ลดลง บอร์ด Arduino รุ่นสำหรับผู้เริ่มต้นมีราคาประมาณ 1 ใน 4 ของบอร์ด Stamp เลยทีเดียว แต่ถึงแม้จะมีราคาถูกกว่าแต่บอร์ด Arduino กลับมีการประมวลผลที่ทรงพลังมากและมีหน่วยความจำมากกว่า อีกทั้ง Arduino ยังมีขนาดเล็กกว่าบอร์ด Stamp ซึ่งเป็นประโยชน์ในหลายโครงการ บอร์ด Stamp จะมีขนาดใหญ่กว่าบอร์ด Arduino ดังภาพ
อีกหนึ่งข้อดีคือ สภาพแวดล้อมในการเขียนโปรแกรมของ Arduino เป็นแบบ Open Soft ที่สามารถติดตั้งได้บนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac, OS X และ Linux
รุ่นต่างๆ ของบอร์ด Arduino มีดังต่อไปนี้
หมายเหตุ (บอร์ดบางรุ่นใช้ชื่อเดียวกันแต่มีรายละเอียดของ spec. แตกต่างกัน เช่น บอร์ดรุ่น Arduino Pro, Arduino Nano, LilyPad Arduino)
Board |
Micro-controller |
Clock Speed |
Flash Memory |
SRAM |
EEPROM |
Arduino UNO |
ATmega328 |
16 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
Arduino Lenonardo |
ATmega32u4 |
16 MHz |
32 KB |
2.5 KB |
1 KB |
Arduino DUE |
AT91SAM3X8E |
84 MHz |
512 KB |
96 KB |
- |
Arduino YUN |
ATmega32u4 |
16 MHz |
32 KB |
2.5 KB |
1 KB |
Arduino Mega ADK |
ATmega2560 |
16 MHz |
256 KB |
8 KB |
4 KB |
Arduino Ethernet |
ATmega328 |
16 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
Arduino Mega 2560 |
ATmega2560 |
16 MHz |
256 KB |
8 KB |
4 KB |
Arduino BT (Bluetooth) |
ATmega328 |
16 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
Arduino Micro |
ATmega32u4 |
16 MHz |
32 KB |
2.5 KB |
1 KB |
Arduino Pro Mini |
ATmega168 |
8 MHz |
16 KB |
1 KB |
512 Bytes |
Arduino Pro |
ATmega168 |
8 MHz |
16 KB |
1 KB |
512 Bytes |
Arduino Pro |
ATmega328 |
16 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
Arduino Mini |
ATmega328 |
16 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
Arduino Nano |
ATmega168 |
16 MHz |
16 KB |
1 KB |
512 Bytes |
Arduino Nano |
ATmega328 |
16 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
Arduino Fio |
ATmega328P |
8 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
Arduino Robot |
ATmega32u4 |
16 MHz |
32 KB |
2.5 KB |
1 KB |
Arduino Esplora |
ATmega32u4 |
16 MHz |
32 KB |
2.5 KB |
1 KB |
LilyPad Arduino USB |
ATmega32u4 |
8 MHz |
32 KB |
2.5 KB |
1 KB |
LilyPad Arduino Simple |
ATmega328 |
8 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
LilyPad Arduino SimpleSnap |
ATmega328 |
8 MHz |
32 KB |
2 KB |
1 KB |
LilyPad Arduino |
ATmega168V |
8 MHz |
16 KB |
1 KB |
512 Bytes |
LilyPad Arduino |
ATmega328V |
8 MHz |
16 KB |
1 KB |
512 Bytes |
ตัวอย่างบอร์ด Arduino มีดังต่อไปนี้
1. Arduino Uno
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega328 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 20V |
พอร์ต Digital I/O |
14 พอร์ต (มี 6 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
6 พอร์ต |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในแต่ละพอร์ต |
40mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V |
50mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
32KB พื้นที่โปรแกรม, 500B ใช้โดย Booloader |
พื้นที่แรม |
2KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
1KB |
ความถี่คริสตัล |
16MHz |
ขนาด |
68.6 x 53.4 mm |
น้ำหนัก |
25 กรัม |
2. Arduino Due
รูปบอร์ด Arduino Due
คำว่า Due เป็นภาษาอิตาลี แปลว่า สอง เป็นรุ่นที่เพิ่มพอร์ตให้มากขึ้นเป็น 54 พอร์ตดิจิตอลอินพุตเอาต์พุต และ 12 พอร์ตอนาล็อกอินพุต 2 พอร์ตอนาล็อกเอาต์พุต เพิ่มพื้นที่โปรแกรมเป็น 512KB สามารถใช้งานพื้นที่ได้เต็มไม่มี Bootloader เนื่องจากสามารถใช้กับพอร์ต USB ได้โดยตรงมีขนาดบอร์ด 101.52x53.3mm สามารถใช้ Shields ของ Arduino Uno ได้ แต่บางตัวจำเป็นต้องแก้ขาให้ถูกต้อง จากรูปจะเห็นได้ว่าบอร์ดได้เปลี่ยนมาใช้ชิปไอซีแบบ SMD จึงไม่นิยมนำมาใช้ในแบบ Standalone แต่นิยมนำมาใช้ในงานที่จำเป็นต้องพื้นที่โปรแกรมมากขึ้น ทำงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น บอร์ด Arduino Due ใช้ชิปไอซีเบอร์ AT91SAM3X8E ซึ่งเป็นชิปไอซีที่ใช้เทคโนโลยี ARM Core สถาปัตยกรรม 32 บิต เร่งความถี่คริสตอลขึ้นไปสูงถึง 84Mhz จึงทำให้สามารถใช้งานด้านการคำนวน หรือการประมวลผลอัลกอริทึมได้เร็วกว่า Arduino Uno มาก แต่เนื่องจากชิปไอซีทำงานที่แรงดัน 3.3V ดังนั้นการนำไปใช้งานกับเซ็นเซอร์ควรระวังไม่ให้แรงดัน 5V ไหลเข้าบอร์ด ควรใช้วงจรแบ่งแรงดันเพื่อช่วยให้ลอจิกลดแรงดันลงมาให้เหมาะสม
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
AT91SAM3X8E |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
3.3V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 16V |
พอร์ต Digital I/O |
54 พอร์ต (มี 12 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
2 พอร์ต |
กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต |
130mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V |
800mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 5V |
800mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
512KB พื้นที่โปรแกรม |
พื้นที่แรม |
2KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
96KB |
ความถี่คริสตัล |
84MHz |
ขนาด |
101.52x53.3 mm |
น้ำหนัก |
36 กรัม |
3. Arduino Leonardo
รูปบอร์ด Arduino Leonard
บอร์ด Arduino Leonard เป็นบอร์ดที่เลือกใช้ชิปไอซีเบอร์ ATmega32u4 ที่รองรับการเชื่อมต่อกับพอร์ต USB ได้โดยตรง ทำให้บอร์ดสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อจำลองตัวเองให้เป็นเมาส์ หรือคีย์บอร์ดได้ ทำงานที่แรงดัน 5V ทำให้ไม่มีปัญหากับเซ็นเซอร์ หรือ Shields ที่ใช้งานกับ Arduino Uno
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega32u4 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 20V |
พอร์ต Digital I/O |
20 พอร์ต (มี 7 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
12 พอร์ต |
กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต |
40mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V |
50mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
32KB แต่ 4KB ถูกใช้โดย Bootloader |
พื้นที่แรม |
2.5KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
1KB |
ความถี่คริสตัล |
16MHz |
ขนาด |
68.6x53.3 mm |
น้ำหนัก |
20 กรัม |
4. Arduino MEGA ADK
รูปบอร์ด Arduino MEGA ADK R3
บอร์ด Arduino MEGA ADK ใช้ชิปไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmaega2560 มีชิปไอซี USB Host เบอร์ MAX3421e มาให้บนบอร์ด ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือแอนดรอยผ่าน OTG มีพอร์ตดิจิตอลอินพุตเอาต์พุตจำนวน 54 พอร์ต มีอนาล็อกอินพุต 16 พอร์ต ทำงานที่ความถี่ 16MHz บอร์ด Arduino MEGA ADK จะแตกต่างกับบอร์ด Arduino Due ตรงที่ชิปบนบอร์ดนั้นฉลาดไม่เท่า และใช้ความถี่ต่ำกว่า ดังนั้นจึงไม่เหมาะจะที่นำไปใช้กับงานคำนวณ แต่เหมาะสำหรับงานที่ใช้การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือแอนดรอยมากกว่า
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega2560 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 20V |
พอร์ต Digital I/O |
54 พอร์ต (มี 15 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
16 พอร์ต |
กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต |
40mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V |
50mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
256KB แต่ 8KB ถูกใช้โดย Bootloader |
พื้นที่แรม |
8KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
4KB |
ความถี่คริสตัล |
16MHz |
ขนาด |
101.52x53.3 mm |
น้ำหนัก |
36 กรัม |
5. Arduino Mega 2560
รูปบอร์ด Arduino Mega 2560 R3
บอร์ด Arduino Mega 2560 จะเหมือนกับ Arduino MEGA ADK ต่างกันตรงที่บนบอร์ดไม่มี USB Host เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมยังต้องทำผ่านโปรโตคอล UART อยู่บนบอร์ดใช้ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmega2560
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega2560 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 20V |
พอร์ต Digital I/O |
54 พอร์ต (มี 15 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
16 พอร์ต |
กระแสไฟฟ้ารวมที่จ่ายได้ในทุกพอร์ต |
40mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V |
50mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
256KB แต่ 8KB ถูกใช้โดย Bootloader |
พื้นที่แรม |
8KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
4KB |
ความถี่คริสตัล |
16MHz |
6. Arduino Micro
รูปบอร์ด Arduino Micro
บอร์ด Arduino Micro ออกแบบให้มีขนาดที่เล็กและทันสมัยกว่าบอร์ด Arduino Mini หรือ Arduino Nano เนื่องจากบนบอร์ดใช้ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmega32u4 ซึ่งมีพอร์ต USB สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และมีดิจิตอลอินพุตเอาต์พุตมากถึง 20 พอร์ต มีพื้นที่เก็บโปรแกรมขนาด 32KB แต่ต้องใช้พื้นที่สำหรับ Bootloader ไป 4KB มีขนาดเพียง 48x18mm เนื่องจากบอร์ดใช้ชิปไอซีตัวเดียวกับ Arduino Leonardo ทำให้สามารถทำให้บอร์ดจำลองตัวเองเป็นเมาส์หรือคีย์บอร์ดเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega32u4 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 20V |
พอร์ต Digital I/O |
20 พอร์ต (มี 7 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
12 พอร์ต |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในแต่ละพอร์ต |
40mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V |
50mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
32KB พื้นที่โปรแกรม, 4KB ใช้โดย Booloader |
พื้นที่แรม |
2.5KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
1KB |
ความถี่คริสตัล |
16MHz |
ขนาด |
48x18 mm |
น้ำหนัก |
13 กรัม |
7. Arduino Nano
รูปบอร์ด Arduino Nano
บอร์ด Arduino Nano ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กและใช้กับงานทั่วๆ ไปใช้ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ATmega168 หรือเบอร์ ATmega328 (มีรุ่น 2.3 กับ 3 ควรตรวจสอบก่อนซื้อ) โปรแกรมผ่านโปรโตคอล UART มีชิปUSB to UART มาให้ ใช้ Mini USB เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีพอร์ตดิจิตอลอินพุตเอาต์พุต 14 พอร์ต มีพอร์ตอนาล็อกอินพุต 8 พอร์ต บนบอร์ดยังมีเรกกูเลเตอร์ สามารถจ่ายไฟได้ตั้งแต่ 7 – 12V เพื่อให้บอร์ดทำงานได้ (จ่ายไฟที่ขา VIN)กรณีมีแหล่งจ่ายไฟ 5V อยู่แล้วก็จ่ายเข้าได้เลยที่ขา 5V
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega168 หรือ ATmega328 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 20V |
พอร์ต Digital I/O |
14 พอร์ต (มี 6 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
6 พอร์ต |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในแต่ละพอร์ต |
40mA |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V |
50mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
16KB หรือ 32KB พื้นที่โปรแกรม, 500B ใช้โดยBooloader |
พื้นที่แรม |
1 หรือ 2KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
512B หรือ 1KB |
ความถี่คริสตัล |
16MHz |
ขนาด |
45x18 mm |
น้ำหนัก |
5 กรัม |
8. Arduino Mini
รูปบอร์ด Arduino Mini
บอร์ด Arduino Mini มีขนาดเล็กกว่าบอร์ด Arduino อื่นๆอยู่มาก แต่ยังคงความสามารถไว้เท่ากับบอร์ด Arduino Uno R3 แถมยังมีพอร์ต A6 และ A7 เพิ่มขึ้นมาทำให้บอร์ดมีอนาล็อกอินพุตเพิ่มมากขึ้น จากเดิมมี 6 พอร์ต เพิ่มเป็น 8 พอร์ต เนื่องจากบอร์ด Arduino Mini เน้นที่ขนาดเล็ก ดังนั้นจึงไม่สามารถทำการดาวน์โหลดโปรแกรมได้โดยตรง หากต้องการดาวน์โหลดโปรแกรมบอร์ดจำเป็นต้องซื้อโมดูล USB to UART มาใช้แยกตางหาก แต่ข้อดีของการไม่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้โดยตรงคือหากโครงการอยู่ตัวแล้ว ความเสี่ยงที่จะถูกนำมาเขียนโปรแกรมเข้าไปใหม่ก็จะลดน้อยลง บอร์ด Arduino Mini ยังคงมีรูปแบบคล้ายๆกับ Arduino เดิม คือใช้ชิป ATmega328 ที่ความถี่ 16MHz ภายในบอร์ดสามารถใช้แหล่งจ่ายไฟ 7 – 12V มาจ่ายได้ หากมีแหล่งจ่ายไฟ 5V ก็สามารถนำมาจ่ายได้เลย
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega328 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) |
7 – 12V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) |
6 – 20V |
พอร์ต Digital I/O |
14 พอร์ต (มี 6 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
8 พอร์ต |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในแต่ละพอร์ต |
40mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
32KB พื้นที่โปรแกรม, 2KB ใช้โดย Booloader |
พื้นที่แรม |
2KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
1KB |
ความถี่คริสตัล |
16MHz |
ขนาด |
30x18 mm |
น้ำหนัก |
ไม่ระบุ |
9. Arduino Pro Mini
รูปบอร์ด Arduino Pro Mini
บอร์ด Arduino Pro Mini เป็นบอร์ดที่แตกต่างจากบอร์ด Arduino Mini คือย้ายช่อง A4 A5 A6 A7 ออกมาภายในบอร์ด เพื่อให้บอร์ดมีขนาดที่เล็กลงกว่าเดิมอีกและมีให้เลือกใช้ทั้ง 5V และ 3.3V ก่อนใช้งานจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อน บอร์ด Arduino Pro Mini ได้ใช้ไอซีเบอร์ ATmega328 เช่นเดิม แต่มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยทำให้ไอซีดูเต็มบอร์ดมากขึ้นและในโมเดลที่ใช้แรงดันไฟ 3.3V ลดความถี่ลงเป็น 8MHz ใช้พื้นที่ Booloader น้อยลง เหลือเพียง 500B การโปรแกรมยังคงต้องใช้โมดูล USB to UART ในการเชื่อมต่อเพื่อโปรแกรมเช่นเดิม
ข้อมูลจำเพาะ
ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ |
ATmega328 |
ใช้แรงดันไฟฟ้า |
3.3V หรือ 5V |
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า |
3.35 – 12V (ในโมเดลใช้ไฟ 3.3V) หรือ 5 – 12V (ในโมเดลใช้ไฟ 5V) |
พอร์ต Digital I/O |
14 พอร์ต (มี 6 พอร์ต PWM output) |
พอร์ต Analog Input |
6 พอร์ต |
กระแสไฟที่จ่ายได้ในแต่ละพอร์ต |
40mA |
พื้นที่โปรแกรมภายใน |
32KB พื้นที่โปรแกรม, 500B ใช้โดย Booloader |
พื้นที่แรม |
2KB |
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) |
1KB |
ความถี่คริสตัล |
8MHz (ในโมเดลใช้ไฟ 3.3V) หรือ 16MHz (ในโมเดลใช้ไฟ 5V) |
ตัวอย่างบอร์ดรุ่นอื่นๆ
|