<< Go Back

การใช้งาน Scratch เหมือนกับโปรแกรมทั่วไปที่ต้องรู้จักเครื่องมือต่างๆ ในโปรแกรม เพื่อการทำงานที่ราบรื่นตามต้องการ หน้าตาของ Scratch เป็นพื้นที่จะต้องใช้ในการสร้างชิ้นงาน แบ่งออกเป็น 8 ส่วนคือ


ภาพหน้าต่างและส่วนต่าง ๆ ของ Scratch 2.0

โดยรายละเอียดของส่วนต่าง ๆ ดังนี้

เป็นพื้นที่แสดงผลลัพธ์ของชิ้นงานที่สร้างขึ้น มีขนาดกว้าง 480 และสูง 360 โดยที่จุดกึ่งกลางเป็นจุดอ้างอิงที่ x=0 และ y=0 โดยค่า x เป็นตัวกำหนดตำแหน่งในแนวนอน มีค่าตั้งแต่ -240 ถึง 240 และ y เป็นตัวกำหนดตำแหน่งในแนวตั้ง มีค่าตั้งแต่ -180 ถึง 180


ภาพแสดง Stage และตำแหน่งบน Stag

สามารถหาค่าตำแหน่ง บน stage โดยการเลื่อนเมาส์ไปชี้ที่ตำแหน่งนั้นจะปรากฏค่าตำแหน่ง  x  และ  y ที่มุมล่างขวา Stage ประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญตามหมายเลข ดังนี้

1.   ปรับการแสดงผลเต็มจอ (Presentation Mode)

2.Project Name ชื่อของชิ้นงานที่กำลังทำงานอยู่

3.   ธงเขียว (Green Flag) การทำงานของโปนแกมที่เขียนขึ้น

4. หยุดการทำงานของโปรแกรม (Stop)

โดยชิ้นงานใหม่จะเริ่มด้วยตัวละครแมวสีส้ม และพื้นหลังสีขาว การคลิกที่ Sprite ใดจะเป็นการทำงานกับ Sprite นั้นทั้งการเขียนคำสั่งและแก้ไขตัวละคร โดย Sprite ที่ถูกเลือกจะปรากฏกรอบสีน้ำเงินล้อมรอบ ส่วนการคลิกที่ Backdrop หรือพื้นหลัง จะเป็นการสลับไปทำงานกับพื้นหลังแทน


ภาพแสดง Sprite List

โดย Sprites List มีเครื่องมือที่สำคัญตามหมายเลขดังนี้

1. ตัว    หรือ info แสดงรายละเอียดของ  Sprite ปิดโดยคลิกปุ่มลูกศรย้อนกลับสีน้ำเงิน

ภาพแสดงรายละเอียดของ Sprite

2. เพิ่ม Sprite จาก Library, Paint , File และ Camera ตามลำดับ

3. ส่วนของการเพิ่ม Backdrops หรือภาพฉากหลังใหม่ ซึ่งมีปุ่มเครื่องมือเช่นเดียวกับเครื่องมือเพิ่ม  Sprite คือจาก Library, Paint, File และ Camera ตามลำดับ

ประกอบไปด้วย Blocks Palette (บล็อกคำสั่ง) และ Scripts Area (พื้นที่วางคำสั่ง) โดยในส่วนของ Blocks Palette ด้านบนจะประกอบไปด้วยหมวดหมู่ของบล็อกคำสั่ง 10 หมวด  คือ Motion, Looks, Sound, Pen, Data, Events, Controls, Sensing, Operators และ More Blocks


ภาพแสดงส่วน Script

โดยหมวดใดถูกเลือกจะปรากฏแถบสี ขึ้นในหมวดนั้น และแถบสีในแต่ละหมวดจะเป็นสีเดียวกับบล็อกคำสั่ง ทำให้ทราบว่าบล็อกคำสั่ง นั้นมากจากหมวดใด

ภาพแสดงสีของบล็อกคำสั่ง

ในส่วนของ Scripts Area จะเป็นพื้นที่วางบล็อกคำสั่ง โดยมุมล่างขวาจะมีรูปแว่นขยายสำหรับย่อหรือขยายบล็อกคำสั่ง

เป็นแท็บสำหรับแก้ไขตัว Sprite โดยมีเครื่องมือแก้ไขภาพ เพิ่มชุดภาพให้กับตัว Sprite ในอิริยาบถต่าง ๆ


ภาพแสดงแท็บ Costume

โดยมีเครื่องมือตามหมายเลขดังนี้

1.ชื่อ Costume
2.เพิ่มภาพ หรือ Costume ให้กับ Sprite จาก Library, Paint, File และ Camera ตามลำดับ
3.รายการ Costumes คลิกเลือก Costume ที่ต้องการแก้ไข
4.ขนาดเส้น
5.เครื่องมือแก้ไขภาพ Costume แบบ Vector
6.จานสี สำหรับเลือกสีที่ใช้ในการแก้ไขภาพ

เป็นแท็บที่จะปรากฏขึ้นเมื่อคลิกเลือกที่ Backdrop หรือพื้นหลัง ใน

ส่วนของ Sprite List ซึ่งมีเครื่องมือแก้ไขรูปและเพิ่มตัว Backdrops เช่นเดียวกับเครื่องมือ Costume แต่อาจเห็นเครื่องมือแก้ไขรูปอยู่ทางด้านซ้ายเนื่องจากเป็นเครื่องมือแก้ไขภาพแบบ Bitmap

ภาพแสดงแท็บBackdrop

เป็นแท็บที่ใช้ในการเพิ่มหรือแก้ไขไฟล์เสียงในชิ้นงาน

มีเครื่องมือ ตามหมายเลข ดังนี้

1) ชื่อของเสียง
2) เพิ่มเสียง โดยเลือกจาก คลัง (Library) , การบันทึก (Record) และ ไฟล์ข้อมูล (File) ตามลำดับ
3) รายการเสียง คลิกเลือกเสียงที่ต้องการแก้ไข
4) คลื่นเสียง สำหรับเลือกช่วงของคลื่นเสียงที่ต้องการแก้ไข
5) เครื่องมือ เล่น, หยุด และบันทึกเสียงตามลำดับ

เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของ Scratch ประกอบด้วยเมนู  และปุ่มเครื่องมือ


ภาพแสดง  Tool bar  ของ  Scratch

มีปุ่มต่าง ๆตามหมายเลขดังนี้

1. เข้าสรงเว็บไซต์ ของ Scratch

2. เปลี่ยนภาษา เมนู File Edit Tips และ About ตามลำดับ

3. เมนู File Edit Tips และ About ตามลำดับ

4. คำสั่งสำหรับกำหนดเคอร์เซอร์เมาส์เพื่อแก้ไขตัว Sprite ดังนี้ ใช้คัดลอก (Duplicate) ใช้ลบ (Delete) ใช้ขยายขนาด(Grow) ใช้ลดขนาด(Shrink) และ (Block Help) ใช้แสดง คลิกแสดงคำอธิบายในส่วนต่าง ๆ ตามลำดับ

เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงเคล็ดลับ คำอธิบายการใช้งาน Scratch รวมถึงบล็อกคำสั่งต่าง ๆดูได้โดยคลิกที่เครื่องหมาย ?  ด้านบนของ Tip Windows

ภาพแสดง Tip Windows

มีปุ่มตามหมายเลขดังนี้
1) ปิด Tips window
2) ไปหน้าหลัก แสดงรายการเคล็ดลับทั้งหมด

<< Go Back