ที่ตั้งตามละติจูด
ดินเขตร้อน |
ดินเขตอบอุ่น |
ดินเขตหนาว
|
|
|
|
แม่น้ำปารานา-ปารากวัย-อุรุกวัย
โอริโนโค
ป่าเซลวาส(Selvas)
|
|
มีอาณาบริเวณประมาณ 5.4 ล้านตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 54 ของพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นหรือป่าเซลวาส นอกจากนี้บริเวณนี้ยังประกอบไปด้วยสัตว์ป่าหายากอยู่มาก |
ทรัพยากรสัตว์ป่าในบริเวณลุ่มแม่น้ำแอมะซอน
ผลผลิตจากป่าที่สำคัญ
|
|
ต้นSapodilla/ ยางไม้ชิเคิล (Chicle)
ทำหมากฝรั่ง |
ใบต้นโคคา
ยากระตุ้นประสาท
ต้นชิงโคนา
ควินินแก้ไข้จับสั่น/มาลาเรีย
ต้นยางบาลาตา
ใช้หุ้มสายเคเบิลใต้น้ำ ใช้หุ้มลูกกอล์ฟ
ไม้เคบราโช (quebracho) ใช้ทำเสา เปลือกไม้สกัดทำสีย้อมหนัง
บราซิลนัท (brazilnut) ใช้ทำอาหาร
1.การทำไร่ขนาดใหญ่ ภาษาสเปนเรียกว่า “เอสตันเชีย”
พืชสำคัญ ได้แก่ โกโก้ กาแฟ อ้อย ยาสูบ ข้าวสาลี ทวีปอเมริกาใต้ผลิตกาแฟได้มากที่สุดในโลก บราซิลและโคลอมเบียผลิตได้มากเป็นที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
เอสตันเซีย การทำไร่เกษตรขนาดใหญ่
การเพาะปลูก (พืชเศรษฐกิจ)
|
|
กาแฟ ปลูกมากทางด้านตะวันออกของประเทศบราซิล โดยเฉพาะในเมืองเซาเปาโล |
|
|
เมืองเซาเปาโล ได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงกาแฟของโลก (Coffee Capital of the World) |
|
|
โกโก้ เป็นเมล็ดจากต้นกาเกา ประเทศที่ปลูกมาก คือ บราซิล และเอกวาดอร์ |
|
|
อ้อย ปลูกมากในบราซิล อาร์เจนตินา โคลอมเบีย กายอานา โดยประเทศบราซิลเป็นผู้นำในการเอาอ้อยมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นแอลกอฮอล์และเชื้อเพลิงเอธานอลเพื่อเป็นพลังงานทดแทน |
|
|
ข้าวสาลี ปลูกมากบริเวณทุ่งหญ้าปัมปัส ในประเทศอาร์เจนตินา |
|
|
ทุ่งหญ้าปัมปัส,อาร์เจนตินา |
2.การปลูกพืชยังชีพ
ทำเกษตรในพื้นที่เล็กๆ ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวเจ้า มันเทศ มันสำปะหลัง กล้วย ส่วนมากอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและเทือกเขาแอนดีส
การเพาะปลูก (พืชเศรษฐกิจ)
|
|
ข้าวโพด ปลูกมากในประเทศบราซิล อาร์เจนตินา และอุรุกวัย |
|
|
ผลไม้ ปลูกมาก คือ กล้วยหอม ในประเทศบราซิล เอกวาดอร์และเวเนซูเอลาและผลไม้ตระกูลส้ม ในภาคกลางของชิลี |
พืชผลทางการเกษตรของทวีปอเมริกาใต้
การเลี้ยงสัตว์ (สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ)
|
|
โคเนื้อ เลี้ยงมากบริเวณทุ่งหญ้ายาโนส ทุ่งหญ้าแคมโปส ทุ่งหญ้ากรันชาโก ทุ่งหญ้าปัมปัส ด้านตะวันออกและใต้ของบราซิล อาร์เจนตินามีการเลี้ยงโคเนื้อมากสามารถส่งออกมากที่สุดในทวีป |
ทุ่งหญ้ากรันชาโก
|
|
แกะ เลี้ยงมากบริเวณที่ราบสูงบราซิล และที่ราบสูงปาตาโกเนีย |
|
|
สุกร เลี้ยงมากในประเทศบราซิล อาร์เจนตินา |
|
|
อัลปากา (Alpaca) |
ลามา (Llama) |
เปรู
การทำเหมืองแร่
แร่ธาตุสำคัญ |
แหล่งที่พบ |
ปิโตรเลียม |
บริเวณทะเลสาบมาราไกโบของประเทศเวเนซุเอลา |
บ็อกไซต์ |
ประเทศซูรินาเมและเวเนซุเอลา |
ทองแดง |
ตอนเหนือของชิลี (ผลิตได้อันดับ 1 ของโลก) |
ไนเตรต |
ทะเลทรายอาตากามา |
แร่ธาตุสำคัญ |
แหล่งที่พบ |
ดีบุก |
ที่ราบสูงโบลิเวีย (ผลิตได้อันดับ 2 ของโลก) |
ทองคำ เพชร เหล็ก |
ที่ราบสูงบราซิล |
ถ่านหิน |
ที่ราบสูงบราซิล ประเทศเวเนซุเอลา |
น้ำมัน |
เวเนซูเอลา |
อุตสาหกรรม
- อุตสาหกรรมในทวีปอเมริกาใต้ เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ขนาดใหญ่มีน้อย เพราะขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
- ประเทศที่มีความเจริญทางอุตสาหกรรมมาก เช่น บราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัย
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน สร้างรายได้มากแก่ประเทศเวเนซุเอลา โคลอมเบีย บราซิล และอาร์เจนตินา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น น้ำตกเอนเจลในประเทศเวเนซุเอลา มาชูปิกชูในประเทศเปรู
โมอาย บนเกาะอีสเตอร์ (Easter Island) เป็นเกาะที่อยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิคอย่างโดดเดี่ยว ห่างจากชายฝั่งประเทศชิลีกว่า 3,600 กิโลเมตร
พาณิชยกรรม
ทวีปอเมริกาใต้ มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่างหรือเมอร์โคซู ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1991 และกลุ่มประชาคมแอนเดียน ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1969
การประชุมเมอร์โคซู
ที่ประเทศเวเนซุเอลา ค.ศ. 2012 |
ส่งเสริมการค้าเสรีในกลุ่มสมาชิก และขยายตลาดการค้าในลักษณะตลาดร่วมในการลงทุนให้กว้างขวาง |
|
|
|
|
กลุ่มเมอร์โคซูร์มีสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย อุรุกวัย และเวเนซุเอลา มีสมาชิกสมทบ 5 ประเทศ คือ โบลิเวีย ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์และเปรู
เวเนซุเอลากำลังเกิดวิกฤตอย่างหนัก ปี 2019 เงินเฟ้อของเวเนซุเอลาพุ่งขึ้นไปถึง 10,000,000%เศรษฐกิจและค่าเงินโบลิวาร์ของประเทศตกต่ำอย่างรุนแรง ชาวเวเนซุเอลาจำนวนมากขาดแคลนอาหารรวมไปถึงยารักษาโรค ประชากรจำนวนกว่า 2.3 ล้านคน หนีออกนอกประเทศเพราะต้องการหาโอกาสในชีวิตที่ดีกว่า
การคมนาคม (ทางบก)Pan American Highways (24,140 กม.)
รัฐอะแลสกา –เมืองซานติเอโก ตอนใต้ชิลี
|
|
การตัดถนนผ่านป่าเขาในประเทศบราซิล |
ประเทศที่มีการพัฒนาเส้นทางรถไฟให้เจริญก้าวหน้า คือ ประเทศอาร์เจนตินา บราซิล และชิลี
ท่าอากาศยานริโอเดจาเนรู
ประเทศที่มีท่าอากาศยานที่ทันสมัย คือ ประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา ส่วนประเทศอื่นท่าอากาศยานยังไม่ได้มาตรฐานมากนัก
ประเทศบราซิลได้ชื่อว่ามีสนามบินเยอะที่สุดในโลกมากกว่า 4,000 แห่งทั่วประเทศ
แม่น้ำสายหลักที่ใช้คมนาคม คือ แม่น้ำปารานาและแม่น้ำแอมะซอน แต่แม่น้ำแอมะซอน บริเวณนี้มีประชากรเบาบาง และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อย จึงไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก
|
|
กรุงบัวโนสไอเรสของประเทศอาร์เจนตินา |
เมืองวัลปาไรโซของประเทศชิลี |
ทวีปอเมริกาใต้ใช้เส้นทางเดินเรือในทะเลติดต่อค้าขายกับทวีปอื่นๆ ได้สะดวก
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาใต้
- ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ประเทศที่มีบทบาต่อเศรษฐกิจของทวีปสูง คือ บราซิล
- มีการเปลี่ยนการเพาะปลูกจากยังชีพเปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกแบบไร่และฟาร์มสมัยใหม่ แต่ก็ทำให้เกิดการบุกรุกป่าแอมะซอนเพิ่มขึ้น
- มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการในเกือบทุกประเทศ
- แม้เศรษฐกิจโดยภาพรวมจะขยายตัว แต่ความอยู่ดีกินดีของประชากรจำกัดเฉพาะเพียงบางประเทศเท่านั้น คือ บราซิลและอาร์เจนตินา ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมถึงเวเนซุเอลาที่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมัน และชิลีที่มีรายได้จากสินแร่
อุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
- ขาดแคลนเงินทุน
- ขาดแคลนเทคโนโลยีสมัยใหม่
- ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย
- อยู่ห่างไกลจากตลาดการค้าของโลก
|