วงดนตรี  คุณภาพของเพลง การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องดนตรี

 

1. วงดนตรีประเภทต่างๆ

                ดนตรีไทย  เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่มีสุนทรียภาพทางดนตรีไทยได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรี  ประเภทต่างๆจากวัสดุที่เป็นไม้ เป็นโลหะ และขึงด้วยหนังทำให้เกิดเสียง สูงต่ำ เสียงแหลม เสียงทุ้ม ที่เราเรียกว่าเสียงดนตรี และความเป็นอัจฉริยะของครูดนตรีไทยยังได้นำเอาเครื่องดนตรีที่แบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามการเกิดของเสียง คือ ดีด  สี  ตี  วงเป่า  มาบรรเลงร่วมกันเป็นดนตรี เรียกว่าการ “ผสมวง” ซึ่งท่านได้พิจารณาถึงเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงเข้ากันได้ดี  จึงเกิดวงดนตรีที่บรรเลงได้ไพเราะ  และมีลักษณะการใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆกัน นอกจากนี้ยังมีขนาดการผสมวงที่แตกต่างกันเพื่อประโยชน์ในการนำไปบรรเลงอีกด้วย

               

                                               

                                                                                                                               

 

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.  วงปี่พาทย์

                เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงวงปี่พาทย์  เป็นประเภทเครื่องตี และเครื่องเป่า ใช้บรรเลงในงานต่างๆทั่วไป  และบรรเลงประกอบการแสดง โขน ละคร ลิเก ฯลฯ

                1.1  วงปี่พาทย์ชาตรีใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครโนรา – ชาตรี และหนังลุงมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย

-  ปี่มอญ 1 เลา      - โทนชาตรี 1 คู่        - กลองชาตรี 1 คู่        - ฆ้องคู่ 1 ราง       - ฉิ่ง 1 คู่

 

1.2 วงปี่พาทย์เครื่องห้า

                มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง  ประกอบด้วย

                                ปี่ใน        1 เลา                      ระนาดเอก            1 ราง                      ฆ้องวงใหญ่          1 วง

                                ตะโพน  1 ใบ                      กลองทัด                2 ใบ                       ฉิ่ง                           1 คู่

               

 

 

 

 

1.3 วงปี่พาทย์เครื่องคู่

                มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง  ประกอบด้วย

                                ปี่ใน                        1 เลา      คู่กับ        ปี่นอก                    1  เลา

                                ระนาดเอก            1 ราง      คู่กับ        ระนาดทุ้ม             1 ราง

                                ฆ้องวงใหญ่          1 วง        คู่กับ        ฆ้องวงเล็ก            1 วง

                                ตะโพน                  1 ใบ       คู่กับ        กลองทัด               2 ใบ

                                ฉิ่ง                           1 คู่          คู่กับ        ฉาบเล็ก                 1 คู่

                                กรับ                        1 คู่          คู่กับ        โหม่ง                     1 ใบ

                               

วงปี่พาทย์เครื่องคู่

 

1.4 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

                มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเหมือนกับวงปี่พาทย์เครื่องคู่  แต่จะเพิ่มเครื่องดนตรี  คือ  ระนาดเอกเหล็ก  1 ราง  และระนาดทุ้มเหล็ก  1 ราง   มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย

                ระนาดเอก            1 ราง                      ระนาดทุ้ม             1 ราง                      ระนาดเอกเหล็ก 1 ราง

                ระนาดทุ้มเหล็ก  1 ราง                     ฆ้องวงใหญ่          1 วง                        ฆ้องวงเล็ก            1 วง

ปี่ใน                        1 เลา                      ปี่นอก                    1 เลา                      ตะโพน                  1 ใบ

                กลองทัด               2 ใบ                       ฉิ่ง                           1 คู่                          ฉาบเล็ก                 1 คู่

                ฉาบใหญ่               1 คู่                          โหม่ง                     1 ใบ                       กรับ                        1 คู่         

               

               

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

 

 

1.5 วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

                วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ใช้บรรเลงประกอบด้วยการแสดงละครดึกดำบรรพ์  เป็นวงดนตรีไทยที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงปรับปรุงขึ้น  มีเครื่องดนตรี  ประกอบด้วย

ระนาดเอก            1 ราง                      ระนาดทุ้ม             1 ราง                      ระนาดทุ้มเหล็ก 1 ราง  

                ฆ้องวงใหญ่          1 วง                        ขลุ่ยเพียงออ          1 เลา                      ขลุ่ยอู้                      1 เลา

                ฆ้องหุ่ย                  1 วง                        ซออู้                        1 คัน                      ตะโพน                  1 ใบ

                กลองตะโพน       1 ใบ                       กลองแขก              1 ใบ                       ฉิ่ง                           1 คู่

กรับพวง                1 อัน     

 

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

 

1.6 วงปี่พาทย์มอญ

                มีการแบ่งเครื่องดนตรีเหมือนวงปี่พาทย์ของไทย  แบ่งเป็น  วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า  วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่  วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่  ใช้บรรเลงในงานมงคลและอวมงคล  มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง  ดังนี้

                1.6.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง ประกอบด้วย

                ฆ้องมอญวงใหญ่                 1 โค้ง                     ระนาดเอก            1 ราง

                ตะโพนมอญ                        1 ใบ                       เปิงมางคอก          1 คอก

                ปี่มอญ                                    1 เลา                      ฆ้องโหม่ง 3 ใบ 1   ชุด (ฆ้องราว)

                ฉิ่ง                                           1 คู่

 

วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า

 

1.6.2  วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่  มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง  ประกอบด้วย

ระนาดเอก            1  ราง                    ระนาดทุ้ม             1  ราง                    ฆ้องมอญวงใหญ่                 1  โค้ง   

ฆ้องมอญวงเล็ก   1  โค้ง                    ตะโพนมอญ        1  ใบ                      ปี่มอญ                                    1  เลา

เปิงมางคอก          1  คอก                   ฉิ่ง                           1  คู่                        กรับ                                        1  คู่

ฉาบเล็ก 1  คู่                                        ฉาบใหญ่               1  คู่                        ฆ้องโหม่ง 3 ใบ  1   ชุด  (ฆ้องราว) 

  

วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่

 

1.6.3  วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่  มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง  ประกอบด้วย

ระนาดเอก                            1  ราง                    ระนาดทุ้ม                             1  ราง                   

ระนาดเอกเหล็ก                  1 ราง                      ระนาดทุ้มเหล็ก                                  1 ราง  

                                ฆ้องมอญวงใหญ่                1 โค้ง                     ฆ้องมอญวงเล็ก                  1 โค้ง    

                                ตะโพนมอญ                        1  ใบ                      ปี่มอญ                                    1  เลา    

                                เปิงมางคอก                          1  คอก                   ฉิ่ง                                           1  คู่

                                กรับ                                        1  คู่                        ฆ้องโหม่ง 3 ใบ               1   ชุด  (ฆ้องราว) 

ฉาบเล็ก                                 1  คู่                        ฉาบใหญ่                               1  คู่                       

 

 

วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่

 

1.7  วงปี่พาทย์นางหงส์

                คือ  วงปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาผสมกับวงบัวลอยโดยใช้

ปี่ชวาแทนปี่ในและปี่นอก   กลองมลายู   1   คู่  ใช้แทนตะโพนและกลองทัด

              วงปี่พาทย์นางหงส์จะใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น  ที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์นั้นเพราะ

ใช้เพลงเรื่องนางหงส์ในการบรรเลง

2.  วงเครื่องสาย

                เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเป็นเครื่องดนตรีเฉพาะดีด   สี  ตี  และเป่า    โดยใช้เครื่องดนตรีประเภท

ดีดและสีเป็นหลักในการบรรเลง  ใช้บรรเลงงานมงคลทั่วๆไป  เช่นงานทำบุญต่างๆ งานแต่งงาน เป็นต้น

2.1  วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว  มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง  ประกอบด้วย

                ซอด้วง                1    คัน                   ซออู้             1    คัน               จะเข้                    1   ตัว

                 ขลุ่ยเพียงออ         1    เลา                  โทนมโหรี      1  ใบ                  รำมะนามโหรี     1  ใบ

                 ฉิ่ง                     1   คู่                      ฉาบเล็ก         1  คู่

 

วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว

 

2.2 วงเครื่องสายเครื่องคู่ มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง ดังนี้

ซอด้วง                   2 คัน                      ซออู้                        2 คัน                      จะเข้                       2 ตัว

ขลุ่ยเพียงออ          1 เลา                      ขลุ่ยหลิบ               1 เลา                      ฉิ่ง                           1 คู่

โทนมโหรี            1 ใบ                       รำมะนามโหรี      1 ใบ                       ฉาบเล็ก                 1 คู่

กรับ                        1 คู่                          โหม่ง                     1 ใบ

 

วงเครื่องสายเครื่องคู่

 

3. วงมโหรี

                วงมโหรีใช้เครื่องดนตรีทั้ง 4 ประเภท คือ ประเภทเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า หรือเป็นการผสมระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย แต่อาจเพิ่มเติมเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้มีขนาดเล็กลง และเพิ่มซอสามสายมาใช้บรรเลง โดยส่วนใหญ่ใช้บรรเลงในงานมงคลทั่วไป

3.1 วงมโหรีเครื่องเดี่ยว  มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง ประกอบด้วย

ซอสามสาย           1 คัน                      ซอด้วง                   1 คัน                      ซออู้                                       1 คัน

จะเข้                       1 ตัว                       ระนาดเอกมโหรี 1 ราง                      ฆ้องวงใหญ่มโหรี               1 วง

โทนมโหรี            1 ใบ                       รำมะนามโหรี     1 ใบ                       ขลุ่ยเพียงออ                         1 เลา

ฉิ่ง                          1 คู่

 

 

วงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 

3.2 วงมโหรีเครื่องคู่   มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง ประกอบ

ซอสามสาย

1  คัน

ซอสามสายหลิบ

1  คัน

ซอด้วง

2  คัน

ซออู้

2  คัน

จะเข้

2  ตัว

ระนาดเอกมโหรี

1  ราง

ระนาดทุ้มมโหรี

1  ราง

ฆ้องวงใหญ่มโหรี

1  วง

ฆ้องวงเล็กมโหรี

1  วง

โทนมโหรี

1  ใบ

รำมะนามโหรี

1  ใบ

ขลุ่ยเพียงออ

1  เลา

ขลุ่ยหลิบ

1  เลา

ฉิ่ง

1  คู่

ฉาบเล็ก

1  คู่

กรับพวง

1 อัน

 

โหม่ง

1  ใบ

 

 

               

                                                                                                               

วงมโหรีเครื่องคู่

 

3.3  วงมโหรีเครื่องใหญ่   มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง  ประกอบด้วย

ซอสามสาย                    1  คัน                  ซอสามสายหลิบ                         1  คัน

ซอด้วง                           2  คัน                  ซออู้                                           2  คัน

จะเข้                               2  ตัว                  ระนาดเอกมโหรี                         1  ราง

ระนาดทุ่มมโหรี             1  ราง                 ระนาดเอกเหล็กมโหรี                1  ราง

ระนาดทุ้มเหล็กมโหรี    1  ราง                 ฆ้องวงใหญ่มโหรี                       1  วง

ฆ้องวงเล็กมโหรี            1  วง                   ขลุ่ยเพียงออ                                1  เลา

ขลุ่ยหลิบ                        1  เลา                  ขลุ่ยอู้                                          1  เลา

ฉิ่ง                                  1  คู่                     ฉาบเล็ก                                      1  คู่

กรับพวง                         1  อัน                  โหม่ง                                         1  ใบ

รำมะนามโหรี                 1  ใบ                  โทนมโหรี                                  1  ใบ

               

 

วงมโหรีเครื่องใหญ่

 

 

วงดนตรีพื้นเมือง

                วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองในการบรรเลง  ซึ่งในแต่ละภาคในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณี  วิถีการดำรงดำเนินชีวิตในภาคนั้นๆ วงดนตรีพื้นเมืองแบ่งเป็นสี่ประเภทดังนี้

1.วงดนตรีภาคเหนือ

                วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือเป็นวงดนตรีท้องถิ่น เป็นวงดนตรีที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นวงดนตรี

ขับร้องและการแสดง

วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ มองเชิง วงแตงทิ้ง วงสะล้อ ซอ ซึ้ง วงกลองแอว วงกลองปูเจ่  วงปี่จุ่ม

วงกลองสะบัดชัย ซึ่งในแต่ละวงมาการบรรเลงและใช้ในโอกาสที่แตกต่างกันออกไป เช่น วงกลองแอวใช้บรรเลงประกอบการแสดงฟ้อนเล็บ วงสะล้อ ซอ ซึง ใช้บรรเลงประกอบการร้อง เพลงพื้นเมือง เป็นต้น

เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประกอบด้วย เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคเหนือ เช่น ซึ่ง

พิณเพียะ สะล้อ กลองสะบัดชัย ปี่แน  ปี่จุ่ม  กลองแอว  กลองตะโล๊ดโป๊ด  กลองเต่งทิ้ง เป็นต้น

เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ

 

 

 

 

2. วงดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง

                วงดนตรีพื้นเมืองภาคกลางจะประกอบด้วยดนตรีไทยทั้ง4 ประเภท และเครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่ง วงดนตรีพื้นเมืองภาคกลางจะมีลักษณะเหมือนกับวงดนตรีไทย แต่อาจจะเพิ่มหรือลดขนาดของวงดนตรีให้เหมาะสมกับการบรรเลงในโอกาสต่างๆ

                วงดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่ วงปี่พาทย์ วงมโหรี วงเครื่องสาย วงกลองยาว ซึ่งใช้บรรเลงในงานมงคลและงานอวมงคล เช่น วงปี่พาทย์ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีแรกนาขวัญ วงเครื่องสายบรรเลงในงานมงคลสมรส ส่วนงานอวมงคลนั้นจะนิยมใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นต้น

                        เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ซออู้ ซอด้วง จะเข้ ตะโพน ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ใน ปี่นอก ขลุ่ยเพียงออ กลองยาว เป็นต้น

 

เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง

 

3.  วงดนตรีพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                วงดนตรีพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมทางดนตรีจึงทำให้มีวงดนตรีที่แตกต่างกันไป ดังนี้

                   กลุ่มวัฒนธรรมอีสานเหนือ  วงดนตรีพื้นเมือง ได้แก่ วงโปงลาง วงแคน ใช้บรรเลงประกอบการขับร้องประเภทเพลงลำต่างๆ เช่น ลำเต้ย ลำเพลิน เป็นต้น

กลุ่มวัฒนธรรมอีสานใต้ วงดนตรีพื้นเมือง ได้แก่ วงกันตรึม วงพิณพาทย์ใช้บรรเลงประกอบการขับร้องประเภท เจรียง กันตรึม ส่วนวงดนตรีพื้นเมืองที่ใช้บรรเลงในงานอวมงคลหรืองานศพ ได้แก่ วงตุ้มโมง

                เครื่องดนตรีที่ใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แคน โปงลาง พิณ โหวด กลองตุ้ม ซอบั้ง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม หมากกั๊บแก้บ เป็นต้น

 

4.วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้

                วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องดนตรีประเภทตีและเป่าเป็นหลัก ใช้บรรเลงประกอบการขับร้องและการแสดงพื้นเมืองต่างๆ

                วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ได้แก่ วงดนตรีหนังตะลุง วงดนตรีกาหลอ วงดนตรีโต๊ะครึม วงดนตรีโนรา วงดนตรีรองเง็ง วงดนตรีลิเกป่า วงดนตรีมะโย่ง วงดนตรีชีละ ซึ่งในแต่ละวงจะใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ เช่น วงดนตรีโนรา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนรา วงดนตรีรองเง็งใช้บรรเลงประกอบการเต้นรองเง็ง วงดนตรีกาหลอใช้บรรเลงในงานศพ เป็นต้น

 

                 เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้  เช่น โทน-รำมะนา กลองชาตรี  ฆ้องคู่  กรือโต๊ะ ทับ โหม่ง  โทน กลองโนรา กลองบานอ ปี่กาหลอ ปี่หนังตะลุง เป็นต้น

 

วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้

 

 

วงดนตรีสากล

                   วงดนตรีสากล คือ วงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้เครื่องเป่าลมทองเหลือง เครื่องตี เครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) ในการบรรเลงซึ่งในแต่ละวงมีลักษณะและการใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.  วงดุริยางค์หรือวงออร์เคสตรา (Orchestra)

     วงดุริยางค์หรือวงออร์เคสตราเฉพาะ (Orchestra) ขนาดใหญ่ คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่อง

ดนตรี 4 ประเภท คือ

1.1  เครื่องสาย (Strings) ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส

1.2  เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwinds) ได้แก่ ปิกโกโล ฟลุต คอร์อังแกลส์ โอโบ คลาริ-เน็ต บาสซูน เบสคลาริเน็ต คอนทราบาสซูน

1.3  เครื่องเป่าลมทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น

1.4  เครื่องตีหรือเครื่องประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่ ฉาบ กลองทิมปานี กลองสแนร์ กลองเบส ไทรแองเกิล (ระฆังเหล็กสามเหลี่ยม) แทมบูรีน (รำมะนา)

 

 

 

วงดุริยางค์หรือวงออร์เคสตรา   หรือบางครั้งเรียก   วงซิมโฟนีออร์เคสตรา   คือ  การบรรเลงบทเพลงบรรเลงที่มีความยาวมากกว่า  1   ท่อนขึ้นไป  จนถึงมากที่สุด 4  ท่อนหรือ 4  กระบวน   (Movement)

และจะมีผู้อำนวยเพลง  (Conductor) หรือวาทยกรทำหน้าที่ควบคุมการบรรเลงบทเพลงในวงของนักดนตรี

        วงออร์เคสตราหรือวงดุริยางค์นี้ใช้ประกอบการแสดงอุปรากร (Opera) และละคร  ใช้ผู้บรรเลงไม่เกิน 60คน

        วงออร์เคสตราแบ่งออกเป็น  3  ขนาด  คือ  วงขนาดเล็ก   มีผู้บรรเลง  40-60 คน  วงขนาดกลางมี

   ผู้บรรเลง 60-80 คน และวงขนาดใหญ่มีผู้บรรเลง  80-100 คน

 

2  วงแชมเบอร์มิวสิก

               วงแชมเบอร์มิวสิก  คือ  วงดนตรีขนาดเล็กที่บรรเลงโดยนักดนตรีตั้งแต่ 2 คน  ถึง  9 คน  เป็น

วงดนตรีที่เหมาะสำหรับบรรเลงในบ้าน   วงแชมเบอร์มิวสิกมีชื่อเรียกเฉพาะตามจำนวนของผู้บรรเลง

       ผู้บรรเลง 2 คน  เรียกว่า  ดูโอ  (Duo)

       ผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า   ทรีโอ  (Trio)

       ผู้บรรเลง  4 คน เรียกว่า   ควอเทต  (Quartet)

       ผู้บรรเลง   5 คน เรียกว่า   ควินเทต (Quintet)

       ผู้บรรเลง  6 คน  เรียกว่า  เช็กช์เทต( Sextet)

       ผู้บรรเลง  7 คน  เรียกว่า   เชปเทต  (Septet)

       ผู้บรรเลง  8  คน  เรียกว่า   อ็อคเทต(Octet)

       ผู้บรรเลง  9  คน  เรียกว่า   โนเนต  (Nonet)

 

 

 

                   และจะบอกลักษณะของเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วย   เช่น   คาว่า   สตริงควอเทต   (String Quartet)

เป็นการบรรเลงดนตรีประเภทเครื่องสาย   หรือ  วินด์อ็อคเทต   (Wind  Octet )  เป็นการบรรเลง 

ดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้   และเครื่องป่าลมทองเหลือง   เป็นต้นและบางครั้งอาจมีการผสมวงโดย

นำเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ  มาบรรเลงร่วมกัน   เช่น  เปียโนทรีโอ  เป็นการนำเครื่องดนตรี  3  ชิ้นมา

บรรเลง  ได้แก่  เปียโน   ไวโอลีน   และเชลโล  เป็นต้น

3.  วงโยธวาทิต

    วงโยธวาทิต  คือ  วงดนตรีที่ใช้ประกอบการเดินสวนสนาม   บรรเลงในลานกลางแจ้งมีกรเดิน

ขบวน  การแปรแถว  เป็นวงดนตรีที่มีการบรรเลงด้วยจังหวะทำนองที่สนุกสนาน  คึกคัก  เร้าใจ

    ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  3  กล่ม  คือ

3.1  เครื่องเป่าลมไม้   (Woodwinds)  ได้แก่  ฟลุต  ปิกโกโล  คลาริเน็ต  โอโบ  บาสซูน  ทูบา

3.2  เครื่องเป่าลมทองเหลือง  (Brass)  ได้แก่  ยูโฟเนียม  แซโซโฟน  คอร์เน็ต  ทรัมเป็ต

ทรอมโบน  เฟรนช์ฮอร์น

3.3  เครื่องตีหรือเครื่องประกอบจังหวะ  (Percussion)  ได้แก่  กลองเบส  ฉาบ  กลอง  ทิมปานี

ไทรแองเกิล   ไซโลโฟน

 

 

 

4.  แตรวง 

แตรวง  เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  3  ประเภท  ได้แก่  เครื่องเป่าลมไม้  เครื่องเป่าลมทองเหลือง  เครื่องดนตรีหรือเครื่องประกอบจังหวะ  เป็นวงดนตรีที่เหมาะจะใช้บรรเลงกลางแจ้ง   เช่น  สวนสาธารณะ  สนามกีฬา  เป็นต้น   การบรรเลงใช้บรรเลงประกอบงานกีฬา  เดินขบวน  พิธีแห่ต่างๆ  เครื่องดนตรีที่ใช้  ได้แก่

 

 

-  เครื่องเป่าลมไม้ ได้แก่ คลาริเน๊ต ฟลุต ปิกโกโล แซกโซโฟน

- เครื่องเป่าลมทองเหลือง ได้แก่ ทรัมเป๊ต คอร์เน๊ต บาริโทน ยูโฟเนียม ทรอมโบน ทูบา

- เครื่องตี ได้แก่ กลองเบส กลองสแนร์

 

 

5. วงแจ๊ส

วงดนตรีแจ๊ส เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในกลุ่มของชาวนิโกร หรือชนผิวดำชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟริกันเป็นวงดนตรีที่บรรเลงแบบสร้างสรรค์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ได้แก่ โซปราโนแซกโซโฟน อัลโตฉ

แซกโฟน เทเนอ  แซกโซฟน บาริโทน แซกโซโฟน  ทรัมเป๊ต ทรอมโบน คลาเน๊ต ดับเบิลเบส ทูบา เปียโน กลอง กีตาร์ ไวปราโฟน แบนโจ เป็นต้น วงแจ๊สที่ขนาดใหญ่ใช้ผู้บรรเลงถึง 37-38 คน ซึ้งจังหวะที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Swing และ Rock n’ Roll

 

6. วงคอมโบ

                เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก เป็นวงดนตรีที่บรรเลงประกอบการขับร้อง ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงร้านอาหาร สถานบริการต่างๆ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงมีจำนวนไม่แน่นอนแต่นิยมใช้ ได้แก่ ทรัมเป็ต

เทเนอร์แซกโซโฟน  อัลโตแซกโซโฟน  ทรอมโบน  เปียโน  กีตาร์เบส  กลองชุด

 

 

2.  การถ่ายทอดอารมณ์ในบทเพลง

ในบทเพลงหนึ่ง  จะมีองค์ประกอบสำคัญ  คือ  จังหวะทำนอง  และบทร้อง ซึ่งรวมกันออกมาเป็นเสียงที่ไพเราะ  ตื่นเต้น  เร้าใจ  ปลุกใจ  เศร้า  เหงา  ฯลฯ  มากมายอารมณ์  เราเรียกเสียงที่ปรากฏในบทเพลงต่างๆว่า  อารมณ์เพลง  การถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงนั้นจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้

1.               จังหวะกับอารมณ์เพลง

จังหวะโดยทั่วไป มี 3  ลักษณะ คือ จังหวะช้า  จังหวะปานกลาง  และจังหวะเร็ว  เพลงแต่ละจังหวะจะให้อารมณ์เพลงที่แตกต่างกันเช่น  จังหวะ 3 ชั้นในเพลงไทย ให้ความรู้สึกอ่อนโยน อ่อนหวาน เยือกเย็น ใกล้เคียงกับจังหวะ สโลว์ ของเพลงสากลที่รัวจังหวะเร็วๆ แบบรุมบ้า  และสามช่า ให้อารมณ์สนุกสนานเป็นต้น

2.               ความดัง – เบา กับอารมณ์เพลง

ความดังเบาในการขับร้องและบรรเลง จะช่วยสร้างอารมณ์เพลงได้อย่างเหมาะสม เช่น การขับร้องเพลงปลุกใจ ต้องร้องด้วยเสียงดังหนักแน่น จะให้ความรู้สึกภาคภูมิ  เข้มแข็ง คึกคัก ตื่นเต้น แต่บทเพลงที่เสียงเบา จะให้ความรู้สึกอ่อนหวานหรือเศร้าโศกในอารมณ์ เช่น เพลงรักบังใบ  ของวงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นต้น

3.               ความแตกต่างของอารมณ์เพลง

เพลงแต่ละบทเพลง  ทั้งบทเพลงไทยและสากล  มีอารมณ์เพลงที่แตกต่างทั้งที่ความแตกต่างนั้นอยู่ที่ความหมาย ของเนื้อหาในบทเพลง  จังหวะและทำนองของเสียงเพลง รวมถึงโอกาสที่ใช้บรรเลงเพลงนั้นๆ  เช่นเพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงโขน-ละคร  ถึงแม้การบรรเลงเพลงไทยจะฟังไพเราะแต่ก็สามารถขับร้องและบรรเลงให้มีอารมณ์เพลงครบทุกรส เช่น อารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้า อารมณ์ที่แสดงความกล้าหาญในการออกทัพ ออกรบ ทำให้ผู้ชมได้รับความสุข สนุกสนานได้ทุกอารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมา

                ในบทเพลงสากลก็มีบทเพลงหลากหลายอารมณ์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อสนองตอบอารมณ์ของผู้ร้องและผู้ฟังให้คล้อยตามบทเพลงได้

 

 

ตัวอย่างบทเพลงแสดงอารมณ์โกรธ

เพลงลิงลาน  2  ชั้น

ร้องประกอบการแสดงโขน  เรื่องรามเกียรติ์  ตอน ทางลอย

เหวยเหวยลูกพระพาย                                        ไปเผาเมือง

ทศพักตร์แค้นเคือง                                                              จึงหักหาญ

ฆ่านางทิ้งน้ำ                                                                        ทำประจาน

โทษเจ้าจะประมาณ                                                            สักเพียงใด

                               

 

ตัวอย่างบทเพลงแสดงอารมณ์เศร้า

เพลงรักบังใบ

คำร้อง :  ชอุ่ม ปัญจพรรค์

ทำนอง:  เอื้อ สุนทรสนาน

           กามเทพหลอกลวง เสียบศรปักทรวงให้ห่วงหา

           ให้รักแล้วใยมาริดรักราแรมไกล

           รักของข้าดั่งบัวบังใบ บังมิให้ใครเห็น

           เฝ้าครวญหวนทุกเช้าเย็นตรอมตรม

 

            สุดหักสุดหายหัวใจมิวายระทม

            สุดตรอมตรม ใจยิ่งคิดให้โหยหา

            ต้องบังรักไว้ไม่กล้าบอกใคร

             เย็นย่ำสุริยาตะวันจากตาพามืดมิด

 

             โอ้ช่างเหมือนดวงจิต มิดมืดยามรักไกล

             น้ำตาตกตามตะวัน นึกแล้วหวั่นพรั่นใจ

             อกเอ๋ยทำฉันใดเล่าเอย คู่ชื่นเคยเชยรักร้างเลยแรมรา

             ยิ่งพาให้หนาวไฉน ปองรักอย่างบัวบังใบ ต้องช้ำหัวใจเรื่อยมา

 

3.  คุณภาพด้านองค์ประกอบของบทเพลง

การประเมินคุณภาพของเพลง  คือ  การวิเคราะห์ความหมายของเนื้อหา  ลักษณะของเสียง และองค์ประกอบของดนตรี  การประเมินคุณภาพของเพลงต้องคำนึงถึงคุณภาพของสิ่งต่างๆดังนี้

1. คุณภาพด้านความหมายของเนื้อหา

คุณภาพด้านความหมายของเนื้อหาในบทเพลง  จะต้องมีความเหมาะสมสื่อถึงอารมณ์ให้ได้ว่า

ผู้ประพันธ์เพลงต้องการสื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้ใด  เนื้อหาของบทเพลงก็ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับดนตรี  ที่ใช้ประกอบกัน เช่น ผู้ประพันธ์ต้องการบรรยายธรรมชาติ ที่สวยงาม ด้วยอารมณ์แห่งความสุขสดชื่น มีความชื่นฉ่ำใจเหมือนสายฝน  เพลงสายฝน  บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชนิพนธ์คำร้อง  โดยพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ  ก็เป็นบทเพลงที่เป็นสื่ออารมณ์รับได้อย่างชัดเจน

 

ตัวอย่างบทเพลงที่มีคุณภาพของเนื้อหา

เพลงพระราชนิพนธ์ สายฝน

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

 

เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว                         ต้นไม้พลิ้วลู่กิ่งใบ

เหมือนจะเอนรากคลอนถอนไป                          แต่เหล่าไม้ยิ่งกลับงาม

พระพรหมท่านบันดาลให้ฝนหลั่ง                        เพื่อประทังชีวิตมิทราม

น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม                ทั่วเขตคามชุ่มธารา

สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวทุ่ง                  แดดทอรุ่งอร่ามตา

รุ่งเลื่อมลายพร่างพรายนภา                              ยามเมื่อฝนมาแต่ไกล

พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นช่ำ                          เพื่อจะนำดับความร้อนใจ

น้ำฝนหลั่งลงมาจากฟ้าแดนไกล                        พืชพรรณไม้ชื่นยืนยง

2.  คุณภาพด้านเสียง

คุณภาพด้านเสียง ของบทเพลง  มี  2  ลักษณะ  คือ

 2.1  คุณภาพด้านเสียงขับร้อง  ผู้ขับร้องจะต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเพลง และใส่อารมณ์ของตนเองให้เหมาะสมกับบทเพลงที่ร้องผู้มีน้ำเสียงที่ดี  สามารถฝึกการควบคุมเสียงได้  จะทำให้การสื่ออารมณ์ของเพลงออกมาสมบูรณ์  และมีคุณภาพ

2.2  คุณภาพด้านเสียงดนตรี  ในการบรรเลงดนตรีผู้บรรเลงต้องวิเคราะห์บทเพลงเช่นเดียวกันว่าควรมีความ เบา – ดัง ระดับใด  มีความเหมาะสมกับจังหวะ ทำนอง บทร้อง  ตามอารมณ์ของบทเพลงหรือไม่  เช่น  เพลงที่มีเสียงดนตรีเบาๆ สบาย จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกตามอารมณ์ของบทเพลงได้ หรือเสียงดนตรีที่หนักๆ ดังกระหึ่ม ก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกคึกคัก เข้าใจ  เป็นต้น

                ดังนั้น  การนำเสนอบทเพลงต่างๆ จะมีคุณภาพที่สมบูรณ์อยู่ที่ผู้ขับร้องและผู้บรรเลงต้องวิเคราะห์ลักษณะของบทเพลงให้ถูกต้องและยังทำให้ผู้ฟังรู้จักและเข้าใจบทเพลงที่นำมาเสนอนั้นด้วย

 

 

การนำเสนอบทเพลง

                  การนำเสนอบทเพลง คือ การนำเสนอลักษณะเด่น ความชื่นชอบของบทเพลง องค์ประกอบต่างๆ  ของบทเพลง ความน่าสนใจของบทเพลง จะทำให้ผู้นำเสนอมีความเข้าใจและซาบซึ้งในบทเพลงมากขึ้นอีกทั้งยังทำให้ผู้อื่นรู้จักและเข้าใจบทเพลงที่นำมานำเสนออีกด้วย ซึ่งในการนำเสนอบทเพลง ผู้นำเสนอจะวิเคราะห์รายละเอียดของบทเพลงให้เข้าใจ จึงจะทำให้การนำเสนอบทเพลงมีความสมบูรณ์

 

3. การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี

1.              การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี

เครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า ซึ้งเครื่องดนตรีแต่ละประเทจะมีรูปร่างลักษณะแตกต่าง ดังนั้นการใช้เครื่องดนตรีแต่ละประเทจึงต้องใช้อย่างระมัดระวังและมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อให้เครื่องดนตรีสามารถใช้งานได้นานมีความคงทนถาวร อยู่ในสภาพสมบูรณ์ใช้งานได้ดีและมีคุณภาพ การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทยแต่ละประเภทมีดังนี้

1.1 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด

เครื่องดีดเป็นเครื่องสายที่ใช้การดีดโดยไม้ดีด ใช้นิ้วมือกดสายที่นมหรือสะพานให้เกิดเสียง เช่น จะเข้ กระจับปี่ ซึง เป็นต้น ซึ้งมีวิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี ดังนี้

-         ควรลดสายให้หย่อนพอควร และต้องดูไม่ให้ส่วนประกอบอื่นหลุดหายไป

-         ทำความสะอาดเครื่องดนตรีทุกครั้ง โดยใช้ผ้านุ่มสะอาดเช็คหลังใช้เครื่องดนตรีเสร็จ

-         นำผ้าที่ตัดไว้เฉพาะรูปร่างของเครื่องดนตรีมาคลุมให้มิดชิด หรือเก็บเข้ากล่องให้เรียบร้อย เช่น (กระจับปี่ ซึง)

-         ถือเครื่องดนตรีให้ถูกลักษณะ เช่น จะเข้ จะใช้การอุ้ม โดยเอามุมของกระพุ้งเข้ากับเอวของผู้ถือ ให้หางจะเข้ไปทางด้านตัวผู้ถือ แล้วนำเก็บเข้าจัดให้เรียบร้อย เป็นต้น

 

 

1.2 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี

                เครื่องสีเป็นเครื่องดนตรีประเภทซอต่างๆ  ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ  คือ  ตัวซอ  ได้แก่ คันทวนบนและคันทวนล่าง  สายซอ  หย่องหรือหมอน  หนังหน้าซอ  รัดอก  ลูกบิด  คันชัก  ได้แก่  ไม้คันสี  หางม้า  หมุดยึดหางม้ากับไม้คันสี  และยางสนสำหรับถูกับหางม้าเพื่อใช้สีกับสาย  ซึ่งมีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี  ดังนี้

- ลดสายลงพอประมาณ เลื่อนหย่องเสียงขึ้นไปที่ขอบบนของกะโหลกหรือกระบอกซอ โดยระวังไม่ให้หย่องหลุดหาย

- ทำความสะอาดคันชัก กะโหลกซอคันทวนและสาย ด้วยผ้านุ่มแห้งสะอาดแล้วเก็บคันชักเข้าที่โดยจัดระดับคันชักเก็บตัวซอให้เข้าที่

- ต้องระวังไม่ให้กะโหลกซอกระแทกของแข็ง และทายางสนที่หางม้าและคันชักก่อนเล่น

- นำเครื่องดนตรีเก็บเข้าถุงผ้าหรือกล่องซอให้เรียบร้อยหลังใช้งานเสร็จ

 

 

1.3 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

                เครื่องตีมีหลายชนิด  แต่ละชนิดมีส่วนประกอบของเครื่องดนตรีแตกต่างกัน  เช่น  รางระนาด  ผืนระนาด  ไม้ตี  โปงลาง  กลองแขก  โทน  เป็นต้น  ซึ่งมีการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องดนตรี  ดังนี้

- ถ้าเป็นเครื่องดนตรีประเภทระนาด จะต้องปลดผืนระนาดลงจากหูระวิงบนทางด้านซ้ายมือของผู้บรรเลงลงหนึ่งข้าง และใช้ผ้าเช็ดเครื่องดนตรีให้สะอาด แล้วนำผ้าที่มีขนาดเท่าผืนระนาดปูลงแล้วม้วนผืนระนาดจากลูกยอดลงมาให้แน่นบรรจุใส่ถุงผ้าให้เรียบร้อย จากนั้นใช้ผ้าคลุมรางระนาดทุกครั้ง ทำความสะอาดไม้ตีแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

 

ถ้าเป็นเครื่องดนตรีประเภทขึงหนัง เช่น กลองต่างๆ โทน รำมะนา เป็นต้น จะต้องใช้ผ้าสะอาดนุ่มเช็ดเครื่องดนตรีทุกครั้งหลังใช้งาน และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย ไม่นำมาวางซ้อนกัน ระมัดระวังไม่ให้ถูกน้ำหรือสัมผัสความชื้นและแสงแดด

 

1.4 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า

      เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย ปี่ เป็นต้น มีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีดังนี้

                               -  ก่อนเป่าและหลังใช้งานควรเช็ดเครื่องดนตรีเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

                               - ไม่นำเครื่องดนตรีมาเคาะแทนอุปกรณ์อื่น และไม่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเป่าร่วมกับ

                                ผู้อื่นเพราะอาจทำให้เกิดโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจ

                               - ไม่นำเครื่องดนตรีไปแช่น้ำหรือผึ่งแดด เพื่อป้องกันการขยายและยืดตัวของไม้และทำ

                                  ให้เสียงไม่เพี้ยนและป้องกันรอยแตกร้าว

                               - ไม่วางเครื่องดนตรีไว้บนที่สูง เพราะอาจทำให้เครื่องดนตรีตกหล่น

                               -  เก็บเครื่องดนตรีใส่ถุงให้มิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง

 

 

 

 

การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีสากล แบ่งออกเป็น เครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมทองเหลือง เครื่องตีและเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) แต่ละประเภทจะมีลักษณะรูปร่าง วิธีการใช้ละการดูแลรักษาต่างกัน จึงต้องมีวิธีการใช้และเก็บรักษาที่ถูกต้อง เพื่อให้เครื่องดนตรีใช้งานได้นาน ซึ่งมีวิธีการใช้และดูแลรักษาดังนี้

2.1การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสาย                                                

  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส แบนโจ กีตาร์ เป็นต้น มีวิธีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรี ดังนี้                                                                    

 -   ตรวจสอบเครื่องดนตรีก่อนเล่นว่าสายครบหรือไม่ ระดับเสียงตรงตัวโน้ตหรือไม่                        

 -  เครื่องสายที่ใช้คันชัก เมื่อบรรเลงเสร็จให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดด้านนอกเครื่องดนตรี และทำความสะอาดคราบยาง

    สนที่ติดอยู่บนสาย                                                                                                                         

-  ไม่สีเครื่องดนตรีด้วยความรุนแรง ไม่วางเครื่องดนตรีซ้อนกัน                                                                  

-  ถ้าเป็นเครื่องสายที่เป็นเครื่องดีด เช่น กีตาร์ เมื่อใช้เสร็จให้นำผ้านุ่มเช็ดเครื่องดนตรีแล้วเก็บใส่กล่อง ถ้าไม่

    มีกล่องให้วางด้านที่มีสายราบกับพื้นเพื่อป้องกันการคลายเสียง                                           

 -  เก็บเครื่องดนตรีใส่กล่องให้เรียนร้อยทุกครั้งหลังใช้งาน             

 

2.2 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้                             

     เครื่องเป่าลมไม้ เช่น คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน แซกโซโฟน ฟลุต เป็นต้น มีวิธีการใช้และบำรุงรักษาดังนี้   

-   เมื่อนำเครื่องดนตรีออกจากกล่อง แล้วนำเครื่องดนตรีมาประกอบกันเป็นลำตัวต้องทำด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงจับส่วนที่เป็นแกนของลิ่มนิ้ว

-  หลังจากใช้เสร็จ ควรซับน้ำลายที่ค้างอยู่ในเครื่องดนตรีออกให้หมด เพราะจะทำให้เครื่องดนตรีสนิม

    ผุกร่อนได้

-  สำหรับเครื่องดนตรีประเภทใช้ลิ้นควรถอดปากเป่าออกมาล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำผ้านุ่มสะอาดแห้งเช็ดทำความสะอาด

-  ใช้ผ้านุ่มเช็ดภายนอกเครื่องดนตรีและไม่นำเครื่องดนตรีไปล้างน้ำหรือใช้ผ้าเปียกเช็ด

-  นำเครื่องดนตรีเก็บใส่กล่องปิดกล่องให้สนิท เพื่อป้องกันการกระแทกตกลงจากพื้น

 

 

 

 

 

 

2.3 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง

                เครื่องเป่าลมทองสีเหลือง เช่น ทรัมเป็ต เฟรนช์ฮอร์น ทูบา ทรอมโบม เป็นต้น มีวิธีการใช้และบำรุง ดังนี้

-   เมื่อนำเครื่องดนตรีออกจากกล่องต้องระวังไม่ให้ลูกสูบหรือท่อลมกระทบกระเทือนเพราะถ้าลูกสูบหรือท่อคดงอไม่สามารถบังคับเสียงให้ตรงตามตัวโน้ตได้

-   เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้ผู้เล่นเป่าเบาๆ ที่กำพวดแล้วกดฝาเปิด-ปิด น้ำลาย เพื่อให้น้ำลายไหลออกจากตัวเครื่อง

-  นำผ้าแห้งเช็ดภายในตัวเครื่องให้แห้ง

 -  ถอดกำพวดไปล้างทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ แล้วใช้ผ้านุ่มแห้งเช็ดกำพวดและด้านนอกของเครื่องดนตรี

-  ไม่นำเครื่องดนตรีไปล้างน้ำ เพราะจะทำให้เครื่องดนตรีเป็นสนิมและไม่วางเครื่องดนตรีซ้อนกัน

-  เก็บเครื่องดนตรีใส่กล่องให้เรียบร้อย ปิดให้มิดชิด

 

 

2.4 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องตี

เครื่องตี เช่น กลองทิมปานี  ไซโลโฟน กลองเบส ฉาบ แทมบูรีน เป็นต้น มีวิธีการใช้และดูรักษา  ดังนี้

   - ตรวจสอบเครื่องดนตรีก่อนเล่น เช่น กลองควรตรวจสอบหนังกลองก่อนเล่น เป็นต้น

   - ใช้อุปกรณ์ในการตีให้เหมาะสมกับเครื่องตี เพื่อป้องกันการชำรุด เช่น แตก หน้ากลองขาด เป็นต้น

   - เครื่องตีที่ทำจากโลหะ  ไม่ควรทำความสะอาดด้วยน้ำหรือผ้าเปียกเพราะอาจทำให้เครื่องดนตรีเกิดสนิม

   -  เก็บเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการกระแทกหรือถูกกระทบกระเทือน และไม่วางเครื่องดนตรีซ้อนกัน

 

 

2.5 การใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีสากลประเภทลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด)

เครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) เช่น เปียโน  ออร์แกน เป็นต้น เป็นเครื่องดนตรีที่ผู้บรรเลงสัมผัสให้เกิดเสียง ซึ่งมีวิธีการใช้และบำรุงรักษาดนตรี ดังนี้

 

-   ตรวจสอบการเล่นนิ้วก่อนการบรรเลง

-  ไม่นำสิ่งของหรือว่าอาหารมาวางบนหลังเครื่องดนตรี และไม่วางของหนักไว้บนฝาลิ่มนิ้ว

     เพราะจะทำไห้กดทบลิ่มนิ้วเสียหายได้

-  ใช้ผ้านุ่มแห้งเช็ดทำความสะอาดลิ่มนิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคราบสกปรกจากเหงื่อ

-  เมื่อเล่นเสร็จควรปิดเครื่องดนตรีทุกครั้ง หรือคลุมด้วยผ้า เพื่อป้องกันฝุ่นละออง

 

 

 

ความรู้เพื่อเติม

ในประเทศเขตร้อนอย่างเมืองไทย อาจจะพบปัญหารบกวนของแมลงตัวเล็กๆ ที่เข้าไปกดแทะอุปกรณ์ภายในของเปียโน ควรแก้ไขปัญหานี้โดยการวางลูกเหม็นในจุดอับต่างๆ ของเปียโน เพื่อทำให้แมลงตัวเล็กๆ หนีไป

 

สรุปเนื้อหา