ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงเช่น การเผาผลาญ ถ่านหิน และเชื้อเพลิง การใช้สารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจก และโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า การเกษตรกรรมและอื่นๆ อีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก รังสีของดวงอาทิตย์ไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสมได้ เพราะถูกก๊าซเรือนกระจกกักเก็บไว้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา : http://www.kasetporpeangclub.com/forums/บทความเกษตรพอเพียง/
412-เศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาโลกร้อนของประเทศไทย.php
ปรากฏการณ์เรือนกระจก [1] หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปไม่ให้หลุดออกนอกบรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า
ที่มา : http://thaigoodview.com/node/8065
2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว
3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรม
1. ระดับน้ำทะเล [2] ขึ้นสูง อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย และระดับน้ำทะเลเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบ ได้แก่ การสูญเสียที่ดินการกัดเซาะและการพังทลายของชายฝั่ง ในส่วนของพื้นที่ที่จะได้รับความเสียหายมากที่สุด คือหมู่เกาะเล็กๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลแคริเบียน รวมถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ
นอกจากนี้ ระดับน้ำทะเลที่ขึ้นสูงยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่ง เช่น การสูญเสียพื้นที่ ป่าชายเลน [3] ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด การรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าสู่แหล่งน้ำจืดที่จะส่งผลเสียต่อการเกษตร และจากการที่น้ำทะเลหนุนจะยังทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและท่วมบ้านเรือนอีกด้วย
2. สภาพอากาศรุนแรง เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น ภัยธรรมชาติต่างๆมีแนวโน้มว่าจะเกิดบ่อยครั้ง และรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า พายุไต้ฝุ่นโซนร้อน น้ำท่วม และการพังทลายของชั้นดิน เป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของปรากฎการณ์เหล่านี้ ได้แก่ พายุไซโคลนที่เข้าถล่ม รัฐโอริสสา [4] ในประเทศอินเดีย และคร่าชีวิตผู้คนนับหมื่นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 พายุเฮอริเคนในรัฐฟอริด้า พายุทอนาโดในสหรัฐ ประเทศญี่ปุ่นเจอพายุใต้ฝุ่น 10 ลูก ในปีพ.ศ. 2548 พายุเฮอริเคนแคทรีนา ในนิวออร์ลีนส์ เกิดขึ้นพายุนี้มีความเร็วลม 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมงค่าความเสียหาย 1,450,000 ล้านบาท ผู้คนเสียชีวิตนับพันราย สภาวะคลื่นความร้อน (Heat Wave) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ที่ทำลายพืชผลการเกษตรในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และทำให้มีผู้เสียชีวิต 140 คน รวมทั้งปรากฎการณ์น้ำท่วมใหญ่ในจีน ความแห้งแล้งรุนแรงในซูดาน และเอธิโอเปีย ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2542-43 เป็นต้น
ความแห้งแล้งจากสภาวะโลกร้อน เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น
ที่มา : http://globalwarmingexclusive.blogspot.com/2009/07/blog-post_1890.php
3. ปะการังฟอกสี สีสันที่สวยงามของ ปะการัง [5] นั้นมาจากสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กที่พึ่งพาอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของปะการัง หากอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน เพียง 2-3 องศาเซลเซียส สาหร่ายนั้นจะตายไป เมื่อปะการังไม่มีอาหาร ปะการังก็จะตายและกลายเป็นสีขาว ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า ปะการังฟอกสี หรือการเปลี่ยนสีของปะการัง การศึกษาวิจัยที่สถาบันสมุทรศาสตร์แห่งฟลอริด้า (Florida Institute of Oceanography) ระบุว่าเกิดการฟอกสีของปะการังสูงสุดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาในออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น ปานามา ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย เคนยา ประเทศในบริเวณทะเลแดง เปอโตริโก จาไมก้า โดยเฉพาะ แนวปะการัง Great Barrier Reef นอกชายฝั่งออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปะการังพันธุ์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์
4. ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เช่น ภาวะน้ำท่วม และคลื่นร้อน ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้นประมาณ 50-80 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในเขตศูนย์สูตรและเขตร้อน เช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะกระทบกระบวนการผลิตอาหาร สุขอนามัยและก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจตามมา สิ่งเหล่านี้ก็จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น โรคท้องร่วง โรคขาดอาหาร โรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะลดปริมาณน้ำสำรอง และเพิ่มปริมาณจุลชีพเล็กๆ ในอาหารและน้ำ ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคอาหารเป็นพิษ [6]
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง โดยจะเกิดกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนรุนแรงมากที่สุด เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวน และจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อปริมาณอาหารสำรอง และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นหลัก
ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ พลโลกต้องช่วยกันลดภาวะโลกร้อนซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี หลักๆคือการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆ อีกมากมาย การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เนื่องจากในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกโดยแท้ แต่ในปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นการปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกด้วย
ปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อเกือบทุกประเทศในโลก คือ การที่ราคาน้ำมันได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ภาวะน้ำมันแพงทำให้ต้นทุนด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขนส่งสูงขึ้นมีผลกระทบต่อราคาสินค้าและบริการต่างๆ ทำให้ ค่าครองชีพสูงและเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
|
|
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=63833 |
ที่มา : http://www.oldstore.net/แยกเก็บขยะไว้ขาย/ |
ข้อมูลการสำรวจปริมาณสำรองของเชื้อเพลิงฟอสซิล ให้ข้อสรุป 5 ประการ ดังนี้
1.โลกยังมีน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินเหลืออยู่ให้ใช้ได้อีกอย่างน้อย 50 ปี
2. ถ่านหิน [7] เป็นเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่มากที่สุด และใช้ได้อีกนานเกินกว่า 100 ปี
3. การคาดการณ์ในอนาคตบ่งชี้ว่า การผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ อย่างน้อยในช่วง 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการผลิตน้ำมันของโลกโดยรวมยังไม่ถึงระดับสูงสุด (peak) ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนถ่านหินจะเป็นเชื้อเพลิงที่มีอัตราการขยายตัวของการผลิตและการใช้มากที่สุด
4. ต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันจะผลิตจากแหล่งในประเทศนอกกลุ่ม OPEC ที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งนี้ รวมไปถึงการผลิตจากทรายน้ำมันในแคนาดา
5.ในกรณีน้ำมัน กลุ่ม OPEC และประเทศในเอเชียกลางจะมีอำนาจเหนือตลาดมากขึ้นตามเวลา เพราะปริมาณน้ำมันที่ผลิตจากกลุ่มประเทศเหล่านี้จะมีสัดส่วนของตลาดที่สูงขึ้น
ปัจจุบันการใช้น้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและต่อเนื่องทั้งในด้านการผลิต และการบริโภคทำให้ความต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย กลุ่มประเทศโอเปคซึ่งกำหนดราคาน้ำมันและการผลิตจึงเริ่มผลิตน้ำมันมาใช้เป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองระหว่างประเทศ และเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งจากสถานการณ์ สงครามอิหร่าน-อิรักในช่วงทศวรรษที่ 1980 ก็ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงเป็นระยะๆ และนำไปสู่การเพิ่มกำลังการผลิตจนเกินความต้องการของตลาด
ระหว่าง ค.ศ. 2006-2008 ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์และอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศตะวันตกกับประเทศอาหรับ รวมทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน และอินเดียที่ต้องใช้น้ำมันอย่างมาก ตลอดจนแหล่งผลิตน้ำมันของโลกที่สำคัญ เช่นตะวันออกกลาง ไนจีเรีย และเวเนซูเอลา ประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามส่งผลให้การผลิตหยุดชะงักอย่างรุนแรง นอกจากนี้เศรษฐกิจของโลกกำลังถดถอย
วิกฤตการณ์น้ำมัน ทำให้หลายประเทศที่ใช้น้ำมันเริ่มวิตกว่าน้ำมันดิบสำรองของโลกลดน้อยลง และกำลังการผลิตน้ำมันโลกอาจใกล้ถึงจุดสูงสุด (Peak oil) เมื่อถึงจุดสูงสุดแล้วปริมาณการผลิตน้ำมันจะเริ่มลดลง มีราคาสูงและยากลำบากในการนำมาใช้ ทำให้ประเทศต่างๆเริ่มคิดหาวิธีการที่จะใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและเริ่มหันมาพึ่งพา พลังงานทดแทน ที่ได้จากแหล่งธรรมชาติและพลังงานสังเคราะห์ทุกชนิด ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่จำกัดและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อม การนำแก๊สธรรมชาติสำหรับยานยนต์ที่เรียกว่า NGV [8] มาใช้แทนน้ำมันในการขนส่งก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำทันที่สูงขึ้น
ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนขึ้นในประเทศของตน การตื่นตัวในการใช้พลังงานทดแทนยังขยายขอบเขตจากระดับชาติและนานาชาติไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นในประเทศต่างๆทั่วโลกด้วย ดั้งนั้นการลดปริมาณการใช้น้ำมันลงและหันมาใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานร่วมกันทั่วโลก จึงเป็นแนวทางของการแก้ไขภาวะวิฤตการณ์น้ำมันได้
ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกที่อยู่ในภาวะวิกฤตมีหลายประการและมีสาเหตุที่แตกต่างกัน สาเหตุหลักที่สำคัญ คือ การเติบโตของประชากรและเศรษฐกิจโลก ทำให้ความต้องการบริโภคทรัพยากรจำนวนมากประมาณว่า ระหว่าง ค.ศ. 1987-2007 ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าแต่ผลที่ตามมาคือ การเกิดปัญหาการบริโภคทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ระบบนิเวศเกิดสูญเสียความสมดุล ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสภาพเศรษฐกิจ วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมโลก มีดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก (ภาวะโลกร้อน และชั้นโอโซนถูกทำลาย)
2. มลพิษทางอากาศ
3. หมอกควัน และฝนกรด
4. ปรากฏการณ์เรือนกระจก
5. ปารกฏการณ์เอลนิโญ
6. การละลายของธารน้ำแข็ง [9] และภาวะน้ำท่วม
7. การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี
ที่มา : http://suteera1994.wordpress.com/2011/09/19/el-nino-southern-oscillation/
ปรากฏการณ์เอลนิโญ เป็นสภาพแปรปรวนของลมฟ้าอากาศที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ประมาณเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน
ลักษณะความแปรปรวนได้แก่ อุณหภูมิบนพื้นผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกโลกใต้เพิ่มสูงขึ้น ดินแดนที่เคยมีฝนตกกลับแห้งแล้งบางพื้นที่มีฝนตกหนักจนน้ำท่วม และดินแดนบางแห่งกลับมีอุณหภูมิของอากาศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สภาพความผันผวนของอากาศดังกล่าวไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นที่ใด และมีลักษณะอย่างไร
ดินแดนที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ได้แก่ ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา ประเทศเปรู บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย หมู่เกาะอินโดนีเซียและประเทศต่างๆในเอเชียใต้
ชื่อที่เรียกตามสถานที่เกิดของ เอลนิโญ [10] อาจพบชื่อเป็นอย่างอื่นดังนี้
1. ลานิญา(La Nina) เกิดแถบเส้นศูนย์สูตร หมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย
2. เอนโซ(ENSO) เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางซีกโลกใต้
ผลกระทบของปรากฏการเอลนิโญที่มีต่อโลก
1. ลักษณะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น เกาะบางแห่งในประเทศ อินโดนีเซียที่เคยมีฝนตกชุกกลับกลายเป็นพื้นที่อับฝนและเกิดไฟไหม้ป่า รวมทั้งอุณหภูมิในภูมิภาคอื่นๆเพิ่มสูงขึ้นเป็นต้น
2. อุณหภูมิของ กระแสน้ำในมหาสมุทร เพิ่มสูงขึ้น และพื้นที่ของกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกขยายกว้างมากขึ้น ทำให้สัตว์น้ำที่ปรับตัวไม่ทันจะตายจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของมนุษย์
3. ภัยธรรมชาติ เอลนิโญทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งจนน้ำท่วมฉับพลันสูญเสียทั้งชีวิตผู้คนและทรัพย์สิน และบางพื้นที่กลับมีความแห้งแล้งอย่างหนัก
4. อุณหภูมิของน่านน้ำมหาสมุทรสูงขึ้น เคยมีปรากฏว่าอุณหภูมิเหนือผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกในแถบเส้นศูนย์สูตรเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 1 องศาเซลเซียล ทำให้เกิดพายุฝนกระหน่ำอย่างรุนแรงในประเทศชิลี เกิดฝนตกหนักจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
5. พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพืชอาหารที่มีอายุสั้นตามฤดูกาล เช่นข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ เนื่องจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฝนทิ้งช่วง หรือน้ำท่วม
6. ความสมดุลของระบบนิเวศตามธรรมชาติสูญเสียไป เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิของน่านน้ำ ย่อมส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตในทะเล และทรัพยากรประมงของมนุษย์
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=557935
ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ข้อตกลงและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญแบ่งออก ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. ความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองชั้นบรรยากาศ เช่น พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นโอโซน ค.ศ. 1987 อนุสัญญาสหประชาช
าติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค.ศ.1992 และพิธีสารเกียวโต ค.ศ.1997 เป็นต้น
2. ความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญเกี่ยวกับด้านสารเคมีและของเสียอันตราย เช่นอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมและการเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน ค.ศ.1989 อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษตกค้างยาวนาน ค.ศ.1995 อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตราย และ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช [11] บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ ค.ศ.1998
3. ความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์และพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ ค.ศ.1975 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ.2004 พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ค.ศ.2005 เป็นต้น
4. ความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เช่นองค์การค้าโลก ค.ศ.1995 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ค.ศ. 1989 ข้อตกลงการค้าเสรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ค.ศ.1995 เป็นต้น
[1] http://www.youtube.com/watch?v=cR8IMb-A_xE
[2] http://www.youtube.com/watch?v=iITKiwQT5Oc
[3] http://www.youtube.com/watch?v=VzsKoAuFWmY
[4] http://www.youtube.com/watch?v=ABaHO-SBzT4
[5] http://www.youtube.com/watch?v=WIfAkzocUIc
[6] http://www.youtube.com/watch?v=a-9zakWXpPA
[7] http://www.youtube.com/watch?v=1IdGjsPUrz8
[8] http://www.youtube.com/watch?v=GnWFkvtrhEk
[9] http://www.youtube.com/watch?v=KhmCXSTND9c
[10] http://www.youtube.com/watch?v=jnMz3zFPTNc
[11] http://www.youtube.com/watch?v=oJ_qqIIRk58
|